22.8.52

เม็กซิโก...ทั้งจำทั้งปรับ...หากใช้ถุงพลาสติก

Wed August 19, 2009: Mexico City bans stores from distributing plastic bags

Story Highlights
Mexico City is Western Hemisphere's second large metro area to ban the bags
Move comes as leading environmentalists call for global ban
U.N. agency: Plastic bags are second-most common form of litter
Bags a major threat to ocean wildlife, U.N. agency says

MEXICO CITY, Mexico (CNN) -- Mexico City's thousands of stores went green Wednesday, as amended ordinances on solid waste now outlaw businesses from giving out thin plastic bags that are not biodegradable.

The law affects all stores, production facilities and service providers within the Federal District, which encompasses the city limits. Nearly 9 million people live inside the district and another 10 million reside in surrounding communities that make up greater Mexico City.

Mexico City becomes the second large metropolitan area in the Western Hemisphere to outlaw the bags. San Francisco in March 2007 enacted an ordinance that gave supermarkets six months and large chain pharmacies about a year to phase out the bags. Los Angeles is set to impose a ban if the state of California does not enact a statewide 25-cent fee per bag by July. About 90 percent of the bags used in the United States are not recycled.

Bans and other restrictions on plastic bags are in place in several countries. China has adopted a strict limit, reducing litter and eliminating the use of 40 billion bags, the World Watch Institute said, citing government estimates. Although compliance has been spotty, violation of the law carries a possible fine of 10,000 yuan ($1,463), World Watch said.

In Tanzania, selling the bags carries a maximum six-month jail sentence and a fine of 1.5 million shilling ($1,137). Mumbai, India, outlawed the bags in 2000 and cities in Australia, Italy, South Africa and Taiwan have imposed bans or surcharges. Ireland reported cutting use of the bags by 90 percent after imposing a fee on each one.

Don't Miss
Blog: Is Hong Kong eco-trendy or eco-serious?
Ocean trash problem 'far from being solved,' U.N. says

Some leading environmentalists are calling for a global ban on the bags. Achim Steiner, executive director of the United Nations Environment Program, says plastic bags are the second-most-common form of litter, behind cigarette butts. The bags are the greatest form of litter on the globe's oceans, the U.N. agency said in a recent report. The bags are also a major threat to ocean wildlife, causing the deaths of 100,000 sea turtles and other marine animals that mistake them for food.

"Thin-film, single-use plastic bags, which choke marine life, should be banned or phased out rapidly everywhere," Steiner said in June. "There is simply zero justification for manufacturing them anymore, anywhere."

Mexico City, which has had some of the worst air pollution in the world, also is looking at improving its environment in other ways. The municipal government announced this month it will place more than 1,100 bicycles at 84 stations throughout the city for residents to use. Officials said they hope to increase bicycle use as a form of transportation to 5 percent, up from the current 1.2 percent.
----------------------------------------------

ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สมาชิกสภากรุงเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก ผ่านร่างกฎหมายที่จะลงโทษเอาผิดกับเจ้าของร้านหรือผู้ประกอบการที่นำถุงพลาสติกใส่ของให้ลูกค้า ยกเว้นถุงพลาสติกที่ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ ผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษปรับ 77,400 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 2,786,400 บาท และจำคุก 1 วันครึ่ง โดยที่ผ่านมาชาวเมืองเม็กซิโกซิตี้จะใช้ถุงพลาสติก 288 ใบต่อคนต่อปี อย่างไรก็ตามร่างกฎหมายฉบับนี้จะต้องผ่านการลงนามโดยนายกเทศมนตรีก่อนจึงจะมีผลบังคับใช้ และทางสภาเมืองฯจะให้เวลาผู้ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ ปรับตัวโดยการหาถุงชนิดอื่นที่เหมาะสมมาใช้เป็นเวลา 1 ปี

กรุงเม็กซิโกซิตี้ไม่ได้เป็นเมืองแรกที่ห้ามการใช้ถุงพลาสติก เพราะก่อนหน้านี้มีหลากเมือง หลายประเทศที่ออกกฎหมาย หรือประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติก เช่น บังกลาเทศ ห้ามใช้ถุงพลาสติก จีนห้ามแจกถุงพลาสติกฟรี

ปีพ.ศ.2543 ไอร์แลนด์เป็น ผู้นำประเทศยุโรป จัดเก็บภาษีถุงพลาสติก ทำให้ปัจจุบันลดการใช้ ถึง 90%,

ปีพ.ศ.2548 รวันดา ห้ามใช้ถุงพลาสติก, อิสราเอล แคนาดา อินเดียตะวันตก บอตสวานา เคนยา แทนซาเนีย แอฟริกาใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ ก็ห้ามและกำลังจะห้ามใช้ถุง พลาสติก,

ปี พ.ศ. 2550 ซานฟรานซิสโก เป็นรัฐแรกในสหรัฐอเมริกาที่ห้ามใช้ถุงพลาสติก, โอ๊กแลนด์ และบอสตัน ก็กำลังพิจารณาห้ามใช้ถุงพลาสติกเช่นกัน หลากหลายกลยุทธ์ในการพยายามกำจัดถุงพลาสติกให้หมดไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้กฎหมายบังคับ การขึ้นภาษีถุงพลาสติก บางประเทศลูกค้าต้องควักจ่ายสูงหากต้องการถุงพลาสติกใส่สินค้าเมื่อเทียบกับการซื้อถุงผ้า แถมลูกค้าที่ใช้ถุงผ้ายังอาจได้ส่วนลดราคาสินค้าด้วย

7.8.52

บรูไนสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ใหญ่สุดในภูมิภาค

Solar power for Seria ‘Clean energy comes to oil town’. RESIDENTS in the oil town of Seria in the Belait District will enjoy the privilege of being the first in the country to be using solar energy as early as next year. This will be possible with the installation of a large, scale Photovoltaic system demonstration project called “Tenaga Suria Brunei” that is scheduled to be completed and commissioned by year 2010. The Memorandum of Understanding for the project was signed between the Energy Division at the Prime Minister’s Office and Mitsubishi Corporation in August 2008.
รัฐบาลบรูไนอยู่ระหว่างเร่งสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power Plant) ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งที่เป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดชาติหนึ่งของโลก ...โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวชื่อ "เตเนกา ซูเรีย บรูไน" หรือพลังงานแสงอาทิตย์บรูไน เมื่อสร้างแล้วเสร็จภายในกลางปีหน้า จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ราว 1.2 เมกะวัตต์ หรือเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนมากราว 400 หลัง โดยกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งเข้าระบบพลังงานไฟฟ้าร่วมแห่งชาติ เพื่อลดการพึ่งพาแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติ

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากบริษัทเจแปน มิตซูบิชิ คอร์เปอเรชั่น ซึ่งสนับสนุนรัฐบาลบรูไนมายาวนานทั้งภาคพลังงานและภาคเกษตรกรรมนายโอซามุ อิโตะ ผู้จัดการใหญ่สาขามิตซูบิชิในบรูไน เปิดเผยว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่สัปดาห์นี้ แต่ไม่เปิดเผยงบประมาณก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ศักยภาพของโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบรูไน จะลดการเผาผลาญน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติของประเทศลงได้มากถึง 340,000 ลิตร ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซทำลายชั้นบรรยากาศโลกลงได้เฉลี่ยปีละราว 940 ตัน ทั้งนี้ แม้ว่าบรูไนถือเป็นชาติผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 4 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติรายใหญ่อันดับ 9 ของโลก แต่บรูไนยังต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรภายในประเทศเอาไว้ให้ยาวนานที่สุด

5.8.52

"จับจริงปรับจริง" ไม่หยุดรถ-ไม่ข้ามทางม้าลาย

(1 ส.ค. 2552) ตำรวจจะเริ่มเอาจริง "จับจริงปรับจริง" กับคนที่ไม่กระทำตามกฎหมาย รวมถึงรถยนต์ที่ไม่หยุดให้คนข้ามด้วย ซึ่งจะเริ่มจับกุมคนที่ไม่ข้ามทางม้าลาย 3 จุดนำร่อง คือ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกราชประสงค์ และถนนสีลม ซึ่งที่ผ่านมาตำรวจ บอกว่า ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบมาเป็นเวลานานกว่า 1 เดือน และถ้าหากว่าพรุ่งนี้พบว่ายังมีคนไม่ข้ามทางม้าลาย หรือว่าสะพานลอย จะถูกปรับไม่เกิน 200 บาท โดยทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของตำรวจว่า หากเป็นสตรีมีครรภ์ คนพิการ และผู้สูงสูงอายุจะกล่าวตักเตือน ส่วนรถที่ไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย จะถูกปรับขั้นต่ำ 500 บาท สำหรับหลักเกณฑ์ในการจับปรับ คนที่ไม่ข้ามทางม้าลาย หรือ สะพานลอย ต้องอยู่ในรัศมีห่างจากทางม้าลาย หรือ สะพานลอย 100 เมตร

นายจุมพล สำเภาพล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร เปิดผยว่า กล่าวถึงการดำเนินงานโครงการรณรงค์วินัยจราจรให้ข้ามถนนในทางข้าม ว่า กทม.ร่วมกับตำรวจจราจรลงพื้นที่รณรงค์วินัยจราจรให้ผู้ใช้รถใช้ถนนและคนข้ามเคารพกฎและสัญญาณจราจรเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ทางร่วมกัน ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยมีเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายกทม.คือเทศกิจ และตำรวจจราจรลงพื้นที่รณรงค์ที่ถนนอโศกมนตรีไปเมื่อสัปดาห์ก่อน

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกระทำผิดกฎ จะถูกจับ-ปรับตามกฎหมาย โดยรถที่ไม่หยุดรถที่ทางม้าลายคนข้ามจะปรับ 500-1,000 บาท และในส่วนของคนข้ามนอกทางม้าลาย ปรับ 200 บาท โดยกทม.จะส่งเจ้าหน้าที่เทศกิจร่วมกับตำรวจจราจรตั้งจุดกวดขัน จับ-ปรับในบริเวณ ทางม้าลาย ทางร่วม ทางแยกต่างๆ เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2552 เป็นต้นไป

นอกจากนี้กทม.จะลงพื้นที่รณรงค์ในถนนอื่นๆ เพิ่มขึ้นให้ทั่วกทม.คาดว่าจะช่วยกระตุ้นสำนึกประชาชนให้มีวินัยจราจรเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนร่วมกัน ส่วนปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงตลอดเวลาอาจเพราะเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ หรือ ตรวจตราไม่ต่อเนื่องตลอดเวลาทำให้ยังคงมีประชาชนละเลยวินัยอยู่นั้น ก็เป็นหน้าที่ของตำรวจจราจรที่จะหาแนวทางที่เหมาะสมซึ่งกทม.ก็ยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

ความคิดเห็น: ดีใจจังที่กรุงเทพเริ่มมีทิศทางการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น แต่โครงการดีๆแบบนี้ไม่ควรจะหยุดไว้แค่ในกรุงเทพ ทั่วประเทศเลยนะจะใช้ให้ทั่ว เพื่อให้สังคมไทยน่าอยู่มากยิ่งขึ้น ร่วมกันรับผิดชอบ เห็นอกเห็นใจผู้ใช้ถนน โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอกว่า คนแก่ คนชรา จักรยาน เป็นต้น