ชื่องาน: น้ำใจไมตรีมินิ-ฮาล์ฟมาราธอน ครั้งที่ 3
วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2549
สถานที่: กองบิน 416 สนามบินเก่า จ.เชียงราย
สรุปผลการประเมิน: 79 คะแนน ดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง:
เส้นทางการแข่งขันสำหรับมินิและฮาล์ฟใช้เส้นทางเดียวกัน วิ่งไป-กลับเส้นทางเดิม มินิกลับตัวที่ 5 กิโล ส่วนฮาล์ฟกลับตัวที่ 10.5 กิโล เส้นทางเป็นเส้นทางครอสคันทรี ปล่อยตัวจากจุดสตาร์ทบริเวณ ลานบินสนามบินเก่า วิ่งบนลานประมาณ 500 เมตร เลี้ยวขวาขึ้นเนินไม่ชันมากผ่านวัดแล้วเข้าสู่ถนนคอนกรีตหมู่บ้าน ประมาณ 1 กิโล จากนั้นก็เป็นทางเรียบลาดยางจนกระทั่งถึงจุดกลับตัว แม้จะปล่อยตัวสาย ฮาล์ฟปล่อยเวลา 06.10 น. มินิปล่อยตัวเวลา 06.30 น. แต่อากาศเย็นมากๆ ไม่ร้อนอย่างที่คิด เส้นทางก็เป็นธรรมชาติดี ถึงแม้ช่วงสุดท้ายจะวิ่งบนถนนสายหลักแต่รถก็ไม่มากนัก นักวิ่งวิ่งกันสบายๆ
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
สนามนี้เป็นสนามแห่งเมืองท่องเที่ยว ดังนั้นจึงเหมาะกับนักวิ่งที่ชื่นชอบวิ่งไป เที่ยวไป เส้นทางการวิ่งก็ไม่ยาก มีให้เลือก 2 ระยะดังนั้นนักวิ่งมาไกลก็ไม่ต้องกลัวขาดทุน ลงฮาล์ฟก็ได้ ลงมินิก็เผื่อแรงไว้เที่ยวต่อ เป็นสนามที่น่าให้การสนับสนุน น่าวิ่งมาก
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
งานนี้ต้องขอยกนิ้วให้กับชมรมวิ่งน้ำใจไมตรีเชียงราย ที่มีความตั้งใจในการจัดงานครั้งนี้ ความตั้งใจที่ดีบวกกับความร่วมมือของสมาชิกทุกคนทำให้ผลงานที่ออกมาดีมากทีเดียว สร้างความประทับใจให้กับนักวิ่งไม่น้อยเลย เชื่อว่าการจัดในครั้งต่อไปนักวิ่งคงร่วมงานไม่น้อยกว่าครั้งนี้แน่นอน ในการจัดครั้งต่อๆไปขอให้ชมรมวิ่งน้ำใจไมตรีรักษาคุณภาพงานให้ดีเช่นคราวนี้
ข้อเสนอแนะในการจัดงานครั้งนี้ จะเห็นว่างานนี้มีเงินรางวัลให้กับนักวิ่งฮาล์ฟมาราธอนเพียงอย่างเดียว ส่วนมินิมาราธอนหรือฟันรันไม่มีเงินรางวัล อยากให้ผู้จัดได้คำนึงถึงนักวิ่งเยาวชนที่ร่วมวิ่งระยะสั้นมากขึ้นกว่านี้ ในระยะมินิเห็นนักวิ่งเยาวชนทั้งชายและหญิงมากันเยอะพอสมควร และก็วิ่งกันเก่งมาก หากนำเงินรางวัลบางส่วนมามอบเป็นเงินรางวัลให้กับรุ่นเยาวชนในทุกระยะจะดีมากโดยไม่จำเป็นต้องแจกทุกรุ่น เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจและแรงกระตุ้นให้เยาวชนได้สนใจมาออกกำลังกายและนำเงินรางวัลไปเป็นทุนการศึกษาต่อไป ในส่วนเรื่องอื่นๆเชื่อว่าผู้จัดจะพัฒนาให้ดีมากยิ่งๆขึ้นต่อไปด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจจากน้ำใจไมตรีชาวเจียงฮายเจ้า...
27.2.49
15.2.49
13.2.49
80 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีมาราธอน
ชื่องาน: 80 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีมาราธอน
วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2549
สถานที่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
สรุปผลการประเมิน: 77 คะแนน เกือบดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง:
สำหรับสนามมาราธอนไม่โหดมากนัก เป็นทางเรียบเกือบร้อยเปอร์เซนต์ มีสะพานไม่สูงมากนักเพียงสะพานเดียว เรียกว่าเหมาะกับนักวิ่งทุกระดับ เส้นทางดูเหมือนจะติดทะเล แต่วิ่งๆไปรู้สึกเหมือนไปวิ่งนครพนมมาราธอนยังไงไม่รู้ เพราะนอกจากจะส่วนเส้นทางวิ่งจะไม่ค่อยได้สัมผัสวิวทิวทัศน์ของความเป็นทะเลซักเท่าไหร่ แต่เส้นทางยาววิ่งตรงไปสุดตา ข้างทางก็เป็นท้องทุ่งนา มีต้นตาลเรียงรายให้รู้ว่านี่เป็นดินแดนแห่งเมืองเพชรแน่นอน เส้นทางการวิ่งเป็นการวิ่งไป-กลับ มีจุดให้น้ำพร้อมป้ายบอกระยะทุกๆ 2 กิโล ดังนั้นป้ายบอกระยะทั้งไปและกลับใช้ป้ายอันเดียวกัน ขาไปก็บอกระยะทาง ขากลับก็บอกระยะที่เหลือ เอาแบบง่ายๆ แต่นักวิ่งเข้าใจแถมเป็นการประหยัดไปในตัว
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
สำหรับสนามนี้คงไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ขอให้นักวิ่งฝึกซ้อมตัวเองมาบ้างสนามนี้ก็ไม่ยากเลย วิ่งกันสบายๆ แต่มีสิ่งหนึ่งที่อยากนำมาเล่าสู่กันฟัง เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ประสบพบเห็นระหว่างการแข่งขัน.... การวิ่งมาราธอนนักวิ่งด้วยกันย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เวลาวิ่งก็ย่อมเหนื่อยล้า เป็นเรื่องธรรมดา แต่การที่เรารู้สึกว่าผู้จัด ทำไอ้นั่นไม่ดี ทำไอ้นี่ไม่พร้อม แล้วก็มาระบายอารมณ์กับนักเรียนนักศึกษา หรืออาสาสมัครต่างๆ ด้วยคำพูดแรงๆระหว่างการแข่งขันดิฉันคิดว่านั่นไม่เป็นการสมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะเค้าเหล่านั้นยอมเสียสละเวลาตื่นแต่ดึกแต่ดื่นทั้งที่ไม่ใช่กิจวัตรของเค้า ต้องมาให้น้ำ มาคอยดูแลเราระหว่างการแข่งขัน และเค้าก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก แต่กับต้องมาโดนว่า หรือประมาณว่าด่าฝากอะไรทำนองนั้น... เค้าอุตส่าห์มาให้บริการเรา ดูแลเรา ตอบแทนเค้าด้วยคำพูดดีๆจะดีกว่าเยอะเลย แทนที่เค้าจะชังน้ำหน้านักวิ่ง เค้าอาจจะอยากออกมาวิ่งกับเราบ้างด้วยซ้ำไปเพราะวิ่งแล้วอารมณ์ หนุ่มขึ้น สาวขึ้น แข็งแรงกันทุกคน พอเข้าเส้นชัยมาคุณอยากจะระบายอะไรก็เชิญละทีนี้ แต่ขึ้คร้านจะบ่นจะว่าเพราะหมดแรงซะแล้ว....
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
งานนี้เป็นการจัดวิ่งมาราธอนครั้งแรก ที่ใช้ชื่อว่า 80 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีมาราธอน ก็ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ทำได้ดีพอสมควรถึงแม้จะมีข้อบกพร่องไปบ้างก็ตาม การจัดมาราธอนไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย เพราะนักวิ่งใช้เวลาการบนเส้นทางวิ่งกันอย่างน้อยๆก็ 3 ชั่วโมง สำหรับนักวิ่งทั่วไป 4-6 ชั่วโมง ซึ่งระยะทางการวิ่งก็ยาวพอสมควรเจ้าหน้าที่ตามเส้นทางการแข่งขันก็ต้องใช้มากกว่าการจัดวิ่งระยะอื่นๆ จุดบริการนวดระหว่างเส้นทางก็ควรมีสำหรับระยะมาราธอน สิ่งสำคัญที่อยากแนะนำสำหรับทีมงานเพชรบุรีมาราธอนในครั้งนี้
ข้อที่ 1 คือเส้นทางการแข่งขัน เส้นทางการแข่งขันยังไม่มีจุดเด่นมากนักแม้จะเลือกวิ่งไปตามเส้นทางหาดเจ้าสำราญและหาดปึกเตียน แต่ว่าถนนค่อนข้างจะห่างกับหาดพอสมควรทำให้นักวิ่งไม่ได้เห็นทัศนียภาพของชายหาดเลย หากเปลี่ยนเส้นทางย้อนกลับไปขึ้นเขาวัง อาจจะทำให้เส้นทางเป็นเอกลักษณ์ได้มากขึ้น ท้าทายความสามารถของนักวิ่งมาราธอนมากขึ้นกว่านี้
ข้อที่ 2 ความพร้อมในการจัดวิ่งทั้ง 3 ระยะ มินิ ฮาล์ฟ และ มาราธอน ซึ่งเป็นการจัดครั้งแรกดูเหมือนจะยังไม่พร้อมเท่าที่ควรดังนั้นการจัดเพียง 2 ระยะ ระยะสั้นและยาวอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างฮาล์ฟหรือมาราธอนจะช่วยให้ผู้จัดทำงานไม่โหลดมากนัก มีคุณภาพมากขึ้น เมื่อมีความพร้อมแล้วจึงค่อยจัดทั้ง 3 ระยะก็จะช่วยให้งานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อที่ 3 วันเวลาการจัดงาน เนื่องจากการจัดมาราธอนเป็นการแข่งขันวิ่งระยะยาวที่นักวิ่งต้องมีการฝึกซ้อมกันเป็นอย่างดี และในปัจจุบันนักวิ่งระยะยาวในบ้านเรายังมีไม่มากนัก คนที่จะวิ่งยาวกันเป็นประจำก็จะมีหน้าเดิมๆ หน้าใหม่ๆก็นานๆทีจะออกมาวิ่ง ออกมาก็จะออกมาวิ่งสนามที่จัดเป็นประจำหรืองานใหญ่ๆ ดังนั้นสนามมาราธอนใหม่ๆก็จะต้องเน้นไปที่นักวิ่งหน้าเก่าซะมากกว่า ดังนั้นการจัดงานชนกับงานวิ่งระยะยาวสนามอื่นๆควรเลี่ยงที่สุด เพื่อให้มีนักวิ่งมาร่วมงานกันมากขึ้น
และสิ่งที่ต้องยกนิ้วให้ก็คือ จุดให้น้ำทุกๆ 2 กิโลที่มีผลไม้สดๆให้นักวิ่งได้อิ่มอร่อยกันตลอดทาง พร้อมทั้งอาหารเลี้ยงต้อนรับเย็นวันเสาร์ที่มีให้เลือกอิ่มอร่อยกันมากมาย และที่สำคัญคือน้ำใจของผู้จัดและน้องนักศึกษาที่มาคอยให้บริการ ให้กำลังใจนักวิ่งจนคนสุดท้ายเข้าสู่เส้นชัย รอจนนักวิ่งคนสุดท้ายเข้าเส้นชัย หากเราเป็นนักวิ่งคนสุดท้ายที่เข้าเส้นชัยในวันนั้น บอกได้เลยว่าไม่ผิดหวังจริงๆ
สุดท้ายอยากบอกว่าอยากให้สนามนี้อยู่คู่ไปกับนักวิ่งต่อไปนะคะ อย่าเพิ่งหมดกำลังใจไปเสียก่อน อย่าเพิ่งท้อ ทุกสิ่งมันพลาดกันได้ ครั้งแรกมันย่อมผิดพลาดเราให้อภัยกัน ครั้งต่อไปย่อมดีกว่าเก่าแน่นอนจ้า
วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2549
สถานที่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
สรุปผลการประเมิน: 77 คะแนน เกือบดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง:
สำหรับสนามมาราธอนไม่โหดมากนัก เป็นทางเรียบเกือบร้อยเปอร์เซนต์ มีสะพานไม่สูงมากนักเพียงสะพานเดียว เรียกว่าเหมาะกับนักวิ่งทุกระดับ เส้นทางดูเหมือนจะติดทะเล แต่วิ่งๆไปรู้สึกเหมือนไปวิ่งนครพนมมาราธอนยังไงไม่รู้ เพราะนอกจากจะส่วนเส้นทางวิ่งจะไม่ค่อยได้สัมผัสวิวทิวทัศน์ของความเป็นทะเลซักเท่าไหร่ แต่เส้นทางยาววิ่งตรงไปสุดตา ข้างทางก็เป็นท้องทุ่งนา มีต้นตาลเรียงรายให้รู้ว่านี่เป็นดินแดนแห่งเมืองเพชรแน่นอน เส้นทางการวิ่งเป็นการวิ่งไป-กลับ มีจุดให้น้ำพร้อมป้ายบอกระยะทุกๆ 2 กิโล ดังนั้นป้ายบอกระยะทั้งไปและกลับใช้ป้ายอันเดียวกัน ขาไปก็บอกระยะทาง ขากลับก็บอกระยะที่เหลือ เอาแบบง่ายๆ แต่นักวิ่งเข้าใจแถมเป็นการประหยัดไปในตัว
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
สำหรับสนามนี้คงไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ขอให้นักวิ่งฝึกซ้อมตัวเองมาบ้างสนามนี้ก็ไม่ยากเลย วิ่งกันสบายๆ แต่มีสิ่งหนึ่งที่อยากนำมาเล่าสู่กันฟัง เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ประสบพบเห็นระหว่างการแข่งขัน.... การวิ่งมาราธอนนักวิ่งด้วยกันย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เวลาวิ่งก็ย่อมเหนื่อยล้า เป็นเรื่องธรรมดา แต่การที่เรารู้สึกว่าผู้จัด ทำไอ้นั่นไม่ดี ทำไอ้นี่ไม่พร้อม แล้วก็มาระบายอารมณ์กับนักเรียนนักศึกษา หรืออาสาสมัครต่างๆ ด้วยคำพูดแรงๆระหว่างการแข่งขันดิฉันคิดว่านั่นไม่เป็นการสมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะเค้าเหล่านั้นยอมเสียสละเวลาตื่นแต่ดึกแต่ดื่นทั้งที่ไม่ใช่กิจวัตรของเค้า ต้องมาให้น้ำ มาคอยดูแลเราระหว่างการแข่งขัน และเค้าก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก แต่กับต้องมาโดนว่า หรือประมาณว่าด่าฝากอะไรทำนองนั้น... เค้าอุตส่าห์มาให้บริการเรา ดูแลเรา ตอบแทนเค้าด้วยคำพูดดีๆจะดีกว่าเยอะเลย แทนที่เค้าจะชังน้ำหน้านักวิ่ง เค้าอาจจะอยากออกมาวิ่งกับเราบ้างด้วยซ้ำไปเพราะวิ่งแล้วอารมณ์ หนุ่มขึ้น สาวขึ้น แข็งแรงกันทุกคน พอเข้าเส้นชัยมาคุณอยากจะระบายอะไรก็เชิญละทีนี้ แต่ขึ้คร้านจะบ่นจะว่าเพราะหมดแรงซะแล้ว....
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
งานนี้เป็นการจัดวิ่งมาราธอนครั้งแรก ที่ใช้ชื่อว่า 80 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีมาราธอน ก็ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ทำได้ดีพอสมควรถึงแม้จะมีข้อบกพร่องไปบ้างก็ตาม การจัดมาราธอนไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย เพราะนักวิ่งใช้เวลาการบนเส้นทางวิ่งกันอย่างน้อยๆก็ 3 ชั่วโมง สำหรับนักวิ่งทั่วไป 4-6 ชั่วโมง ซึ่งระยะทางการวิ่งก็ยาวพอสมควรเจ้าหน้าที่ตามเส้นทางการแข่งขันก็ต้องใช้มากกว่าการจัดวิ่งระยะอื่นๆ จุดบริการนวดระหว่างเส้นทางก็ควรมีสำหรับระยะมาราธอน สิ่งสำคัญที่อยากแนะนำสำหรับทีมงานเพชรบุรีมาราธอนในครั้งนี้
ข้อที่ 1 คือเส้นทางการแข่งขัน เส้นทางการแข่งขันยังไม่มีจุดเด่นมากนักแม้จะเลือกวิ่งไปตามเส้นทางหาดเจ้าสำราญและหาดปึกเตียน แต่ว่าถนนค่อนข้างจะห่างกับหาดพอสมควรทำให้นักวิ่งไม่ได้เห็นทัศนียภาพของชายหาดเลย หากเปลี่ยนเส้นทางย้อนกลับไปขึ้นเขาวัง อาจจะทำให้เส้นทางเป็นเอกลักษณ์ได้มากขึ้น ท้าทายความสามารถของนักวิ่งมาราธอนมากขึ้นกว่านี้
ข้อที่ 2 ความพร้อมในการจัดวิ่งทั้ง 3 ระยะ มินิ ฮาล์ฟ และ มาราธอน ซึ่งเป็นการจัดครั้งแรกดูเหมือนจะยังไม่พร้อมเท่าที่ควรดังนั้นการจัดเพียง 2 ระยะ ระยะสั้นและยาวอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างฮาล์ฟหรือมาราธอนจะช่วยให้ผู้จัดทำงานไม่โหลดมากนัก มีคุณภาพมากขึ้น เมื่อมีความพร้อมแล้วจึงค่อยจัดทั้ง 3 ระยะก็จะช่วยให้งานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อที่ 3 วันเวลาการจัดงาน เนื่องจากการจัดมาราธอนเป็นการแข่งขันวิ่งระยะยาวที่นักวิ่งต้องมีการฝึกซ้อมกันเป็นอย่างดี และในปัจจุบันนักวิ่งระยะยาวในบ้านเรายังมีไม่มากนัก คนที่จะวิ่งยาวกันเป็นประจำก็จะมีหน้าเดิมๆ หน้าใหม่ๆก็นานๆทีจะออกมาวิ่ง ออกมาก็จะออกมาวิ่งสนามที่จัดเป็นประจำหรืองานใหญ่ๆ ดังนั้นสนามมาราธอนใหม่ๆก็จะต้องเน้นไปที่นักวิ่งหน้าเก่าซะมากกว่า ดังนั้นการจัดงานชนกับงานวิ่งระยะยาวสนามอื่นๆควรเลี่ยงที่สุด เพื่อให้มีนักวิ่งมาร่วมงานกันมากขึ้น
และสิ่งที่ต้องยกนิ้วให้ก็คือ จุดให้น้ำทุกๆ 2 กิโลที่มีผลไม้สดๆให้นักวิ่งได้อิ่มอร่อยกันตลอดทาง พร้อมทั้งอาหารเลี้ยงต้อนรับเย็นวันเสาร์ที่มีให้เลือกอิ่มอร่อยกันมากมาย และที่สำคัญคือน้ำใจของผู้จัดและน้องนักศึกษาที่มาคอยให้บริการ ให้กำลังใจนักวิ่งจนคนสุดท้ายเข้าสู่เส้นชัย รอจนนักวิ่งคนสุดท้ายเข้าเส้นชัย หากเราเป็นนักวิ่งคนสุดท้ายที่เข้าเส้นชัยในวันนั้น บอกได้เลยว่าไม่ผิดหวังจริงๆ
สุดท้ายอยากบอกว่าอยากให้สนามนี้อยู่คู่ไปกับนักวิ่งต่อไปนะคะ อย่าเพิ่งหมดกำลังใจไปเสียก่อน อย่าเพิ่งท้อ ทุกสิ่งมันพลาดกันได้ ครั้งแรกมันย่อมผิดพลาดเราให้อภัยกัน ครั้งต่อไปย่อมดีกว่าเก่าแน่นอนจ้า
ป้ายกำกับ:
030 เรื่องวิ่ง,
036 TRES by tsdk
12.2.49
สุวรรณภูมิมินิมาราธอน รวมพลคนรักการบิน
ชื่องาน: สุวรรณภูมิมินิมาราธอน รวมพลคนรักการบิน
วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2549
สถานที่: สนามบินสุวรรณภูมิ ลาดกระบัง กรุงเทพฯ
สรุปผลการประเมิน: 71 คะแนน พอใช้ได้
เส้นทางการเดิน-วิ่ง:
เส้นทางการวิ่งสนามนี้อยากบอกว่าบรรยากาศดีที่สุดเท่าที่ผ่านมาของงานวิ่งหลายๆงานในกรุงเทพเนื่องจากวิ่งบริเวณส่วนที่เคยถูกเรียกว่าเป็นชานเมืองกรุงเทพ อากาศปลอดโปร่งมาก แถมเส้นทางการวิ่งเป็นเส้นทางที่เพิ่งทำการก่อสร้างเสร็จ เป็นถนนคอนกรีตสำหรับเข้าสู่อาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินแห่งใหม่ของประเทศไทยซึ่งจะเปิดใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ เส้นทางวิ่งไปผ่านอาคารต่างๆที่จะเป็นสำนักงานของสายการบิน อาคารผู้โดยสาร หอบังคับการแล้วอ้อมมาเข้าเส้นชัย ณ จุดสตาร์ทอีกครั้ง
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
สนามนี้เป็นสนามที่สวยงาม คิดว่ามีโอกาสไม่มากนักที่จะให้วิ่งกันบ่อยๆ เพื่อเป็นเกียรติประวัติครั้งหนึ่งในชีวิตที่จะได้วิ่งสนามดีๆเช่นก่อนเปิดใช้ ก็นับว่าดีไม่น้อยทีเดียว แต่เนื่องจากสนามนี้เก็บค่าสมัครแพงกว่าปกติซึ่งระยะมินิจะอยู่ที่ราคา 200 บาท แต่งานนี้เก็บ 250 บาท งานวิ่งที่มีรูปแบบเช่นนี้นักวิ่งก็คงต้องพิจารณาเอาละกันระหว่างเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อแลกกับการมีประสบการ์ณการวิ่งในสถานที่ซึ่งจะไม่เปิดให้วิ่งกันได้ง่ายๆ แต่งานนี้ก็มีนักวิ่งบางท่านไม่พร้อมที่จะจ่าย 250 บาทแต่ก็ไม่ยอมที่จะเสียโอกาสไหนๆก็มาถึงสนามแล้วก็ลงวิ่งแบบไม่ติดเบอร์ก็มี ขอวิ่งเก็บบรรยากาศก็แล้วกัน
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
งานนี้คงยากที่จะแนะนำผู้จัดเพราะดูเหมือนงานนี้เป็นการจัดเพื่อหารายได้จริงๆ จัดเพียงครั้งเดียวคงไม่จัดอีกแล้วหรือเปล่า? อันนี้ไม่แน่ใจ ค่าสมัคร 250 ถึงแม้จะสูงกว่าปกตินิดหน่อยคงไม่เป็นไรสำหรับนักวิ่งทั่วไป แต่ราคาสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่สนใจน่าจะมีบ้างเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม มาออกกำลังกายมากขึ้น ซึ่งในบริเวณสถานที่การแข่งขันแห่งนั้นสถาบันการศึกษา โรงเรียนมีมากแต่ไม่ค่อยเห็นเข้ามามีส่วนร่วมบ้างเลย งานนี้อยากบอกเพียงว่างานวิ่งงานหนึ่งลงทุนไปตั้งมากมาย อยากให้ผู้จัดหวังกำไรทางสังคมมากขึ้น นอกเหนือจากกำไรทางเศรษฐกิจ
วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2549
สถานที่: สนามบินสุวรรณภูมิ ลาดกระบัง กรุงเทพฯ
สรุปผลการประเมิน: 71 คะแนน พอใช้ได้
เส้นทางการเดิน-วิ่ง:
เส้นทางการวิ่งสนามนี้อยากบอกว่าบรรยากาศดีที่สุดเท่าที่ผ่านมาของงานวิ่งหลายๆงานในกรุงเทพเนื่องจากวิ่งบริเวณส่วนที่เคยถูกเรียกว่าเป็นชานเมืองกรุงเทพ อากาศปลอดโปร่งมาก แถมเส้นทางการวิ่งเป็นเส้นทางที่เพิ่งทำการก่อสร้างเสร็จ เป็นถนนคอนกรีตสำหรับเข้าสู่อาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินแห่งใหม่ของประเทศไทยซึ่งจะเปิดใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ เส้นทางวิ่งไปผ่านอาคารต่างๆที่จะเป็นสำนักงานของสายการบิน อาคารผู้โดยสาร หอบังคับการแล้วอ้อมมาเข้าเส้นชัย ณ จุดสตาร์ทอีกครั้ง
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
สนามนี้เป็นสนามที่สวยงาม คิดว่ามีโอกาสไม่มากนักที่จะให้วิ่งกันบ่อยๆ เพื่อเป็นเกียรติประวัติครั้งหนึ่งในชีวิตที่จะได้วิ่งสนามดีๆเช่นก่อนเปิดใช้ ก็นับว่าดีไม่น้อยทีเดียว แต่เนื่องจากสนามนี้เก็บค่าสมัครแพงกว่าปกติซึ่งระยะมินิจะอยู่ที่ราคา 200 บาท แต่งานนี้เก็บ 250 บาท งานวิ่งที่มีรูปแบบเช่นนี้นักวิ่งก็คงต้องพิจารณาเอาละกันระหว่างเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อแลกกับการมีประสบการ์ณการวิ่งในสถานที่ซึ่งจะไม่เปิดให้วิ่งกันได้ง่ายๆ แต่งานนี้ก็มีนักวิ่งบางท่านไม่พร้อมที่จะจ่าย 250 บาทแต่ก็ไม่ยอมที่จะเสียโอกาสไหนๆก็มาถึงสนามแล้วก็ลงวิ่งแบบไม่ติดเบอร์ก็มี ขอวิ่งเก็บบรรยากาศก็แล้วกัน
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
งานนี้คงยากที่จะแนะนำผู้จัดเพราะดูเหมือนงานนี้เป็นการจัดเพื่อหารายได้จริงๆ จัดเพียงครั้งเดียวคงไม่จัดอีกแล้วหรือเปล่า? อันนี้ไม่แน่ใจ ค่าสมัคร 250 ถึงแม้จะสูงกว่าปกตินิดหน่อยคงไม่เป็นไรสำหรับนักวิ่งทั่วไป แต่ราคาสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่สนใจน่าจะมีบ้างเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม มาออกกำลังกายมากขึ้น ซึ่งในบริเวณสถานที่การแข่งขันแห่งนั้นสถาบันการศึกษา โรงเรียนมีมากแต่ไม่ค่อยเห็นเข้ามามีส่วนร่วมบ้างเลย งานนี้อยากบอกเพียงว่างานวิ่งงานหนึ่งลงทุนไปตั้งมากมาย อยากให้ผู้จัดหวังกำไรทางสังคมมากขึ้น นอกเหนือจากกำไรทางเศรษฐกิจ
ป้ายกำกับ:
030 เรื่องวิ่ง,
031 สนามวิ่งเมืองไทย,
036 TRES by tsdk
6.2.49
ดอนบอสโกมินิ-ฮาล์ฟมาราธอน ครั้งที่4
ชื่องาน: ดอนบอสโกมินิ-ฮาล์ฟมาราธอน ครั้งที่4
วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2549
สถานที่: สนามการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) หัวหมาก กรุงเทพฯ
สรุปผลการประเมิน: 75 คะแนน ใช้ได้ เกือบดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง:
เส้นทางการวิ่งดอนบอสโก วิ่งวนสนามกีฬารัชมังคลากีฬาสถาน แล้วก็เลี้ยวออกด้านหลังสนามกีฬาวิ่งสู่ถนนพระรามเก้า จากพระรามเก้าตรงไปเรื่อยๆก็เข้าสู่ถนนศรีนครินทร์ เลี้ยวซ้ายเพื่อไปออกถนนกรุงเทพกรีฑา เข้าถนนำกรุงเทพกรีฑาแล้ววิ่งกลับผ่านสนามกีฬาฯ สำหรับมินิมาราธอนก็เข้าสู่เส้นชัยได้เลยส่วนฮาล์ฟก็วิ่งอีกรอบแล้วกลับเข้าสู่เส้นชัย เส้นทางก็เป็นทางเรียบที่ปกติใช้เป็นเส้นทางการสัญจรไปมา ก็มีรถวิ่งไปมาบ้าง แต่ก็มีเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลตลอดเส้นทาง
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
เนื่องเส้นทางการแข่งขันเป็นการวิ่งในกรุงเทพ ดังนั้นอยากให้นักวิ่งพิจารณเส้นทางการวิ่งทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน ควรหลีกเลี่ยงการวิ่งบนถนนที่มีการจราจรพลุกพล่านถึงแม้ผู้จัดมีความพยายามเพียงใดก็ตามในการปิดถนน แต่จะให้ปิดร้อยเปอร์เซนต์เป็นไปได้ยากพอควร ถึงแม้จะมีการปิดกั้นรถแต่สภาพอากาศก็ไม่เหมาะที่จะออกมาวิ่งเพื่อสุขภาพเท่าใดนัก ไม่ใช่เฉพาะสนามนี้แต่ที่กล่าวนี้รวมถึงทุกๆสนามที่จัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร
นอกจากนั้นอีกเรื่องที่อยากฝากไว้ การเป็นนักวิ่งเพื่อสุขภาพที่ดีควรมองและพิจารณาว่าวิ่งอย่างไรเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพตนเอง ไม่ใช่ตะบี้ตะบันวิ่งอย่างเดียว ในบางครั้งเราก็ต้องยอมรับว่าความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากผู้จัดเอง หรือเหตุการ์ณที่ไม่คาดคิด ในช่วงไหนที่มืดระวังได้ก็ควรระวัง อุบัติเหตุหากเกิดขึ้นแล้วก็ไม่มีใครรับผิดชอบให้ท่านได้ “จะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ หากเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากการแข่งขัน” ทุกครั้งที่ท่านเขียนใบสมัครก็จะเห็นประโยคนี้ ดังนั้นอย่าวิ่งอย่างเดียว
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
การพัฒนาจากมินิมาราธอน 3 ครั้ง มาเป็นมินิ-ฮาล์ฟมาราธอน ครั้งที่4 ถือว่าเป็นการพัฒนาและความตั้งใจของผู้จัด เราก็ต้องยอมรับความจริงใจที่จะพัฒนางานวิ่งดอนบอสโกของผู้จัดจริงๆที่แสดงให้นักวิ่งได้เห็นกัน แต่เนื่องจากการจัดวิ่งในกรุงเทพเพื่อให้ได้บรรยากาศดีๆ ความปลอดภัยสูงๆแก่นักวิ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้จัดจึงต้องพบกับปัญหาอุปสรรคหลายๆประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนเส้นทางตามที่ได้ลงไว้ในโบรชัวร์เพื่อความปลอดภัยของนักวิ่ง ปัญหาการปิดถนน เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นมินิ-ฮาล์ฟ ครั้งที่ 4 นี้ก็จะเป็นบทเรียนให้กับผู้จัดได้ไม่น้อยทีเดียว สิ่งหนึ่งที่อยากฝากผู้จัดในครั้งต่อไป การจัดวิ่งในกรุงเทพฯค่อนข้างเป็นอะไรที่ยุ่งยากมาก หากผู้จัดยังจะดำเนินการจัดเป็นมินิ-ฮาล์ฟมาราธอนต่อไป การเลือกสถานที่การแข่งขันนอกเขตกรุงเทพฯจะเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะดูจากทีมงานแล้วทำงานกันได้ดี แต่หากไม่ต้องการเปลี่ยนสถานที่ผู้จัดคงต้องลดระยะการแข่งขันลงเพื่อให้นักวิ่งมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นให้สมกับเป็นการวิ่งเพื่อสุขภาพ สุดท้ายขอขอบคุณทีมงานดอนบอสโกมินิ-ฮาล์ฟมาราธอน สำหรับความตั้งใจจริงที่จะพัฒนางานวิ่งนี้ ด้วยความตั้งใจนี้เชื่อว่างานนี้จะได้รับการสนับสนุนจากนักวิ่งในโอกาสต่อไปแน่นอน
วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2549
สถานที่: สนามการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) หัวหมาก กรุงเทพฯ
สรุปผลการประเมิน: 75 คะแนน ใช้ได้ เกือบดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง:
เส้นทางการวิ่งดอนบอสโก วิ่งวนสนามกีฬารัชมังคลากีฬาสถาน แล้วก็เลี้ยวออกด้านหลังสนามกีฬาวิ่งสู่ถนนพระรามเก้า จากพระรามเก้าตรงไปเรื่อยๆก็เข้าสู่ถนนศรีนครินทร์ เลี้ยวซ้ายเพื่อไปออกถนนกรุงเทพกรีฑา เข้าถนนำกรุงเทพกรีฑาแล้ววิ่งกลับผ่านสนามกีฬาฯ สำหรับมินิมาราธอนก็เข้าสู่เส้นชัยได้เลยส่วนฮาล์ฟก็วิ่งอีกรอบแล้วกลับเข้าสู่เส้นชัย เส้นทางก็เป็นทางเรียบที่ปกติใช้เป็นเส้นทางการสัญจรไปมา ก็มีรถวิ่งไปมาบ้าง แต่ก็มีเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลตลอดเส้นทาง
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
เนื่องเส้นทางการแข่งขันเป็นการวิ่งในกรุงเทพ ดังนั้นอยากให้นักวิ่งพิจารณเส้นทางการวิ่งทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน ควรหลีกเลี่ยงการวิ่งบนถนนที่มีการจราจรพลุกพล่านถึงแม้ผู้จัดมีความพยายามเพียงใดก็ตามในการปิดถนน แต่จะให้ปิดร้อยเปอร์เซนต์เป็นไปได้ยากพอควร ถึงแม้จะมีการปิดกั้นรถแต่สภาพอากาศก็ไม่เหมาะที่จะออกมาวิ่งเพื่อสุขภาพเท่าใดนัก ไม่ใช่เฉพาะสนามนี้แต่ที่กล่าวนี้รวมถึงทุกๆสนามที่จัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร
นอกจากนั้นอีกเรื่องที่อยากฝากไว้ การเป็นนักวิ่งเพื่อสุขภาพที่ดีควรมองและพิจารณาว่าวิ่งอย่างไรเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพตนเอง ไม่ใช่ตะบี้ตะบันวิ่งอย่างเดียว ในบางครั้งเราก็ต้องยอมรับว่าความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากผู้จัดเอง หรือเหตุการ์ณที่ไม่คาดคิด ในช่วงไหนที่มืดระวังได้ก็ควรระวัง อุบัติเหตุหากเกิดขึ้นแล้วก็ไม่มีใครรับผิดชอบให้ท่านได้ “จะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ หากเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากการแข่งขัน” ทุกครั้งที่ท่านเขียนใบสมัครก็จะเห็นประโยคนี้ ดังนั้นอย่าวิ่งอย่างเดียว
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
การพัฒนาจากมินิมาราธอน 3 ครั้ง มาเป็นมินิ-ฮาล์ฟมาราธอน ครั้งที่4 ถือว่าเป็นการพัฒนาและความตั้งใจของผู้จัด เราก็ต้องยอมรับความจริงใจที่จะพัฒนางานวิ่งดอนบอสโกของผู้จัดจริงๆที่แสดงให้นักวิ่งได้เห็นกัน แต่เนื่องจากการจัดวิ่งในกรุงเทพเพื่อให้ได้บรรยากาศดีๆ ความปลอดภัยสูงๆแก่นักวิ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้จัดจึงต้องพบกับปัญหาอุปสรรคหลายๆประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนเส้นทางตามที่ได้ลงไว้ในโบรชัวร์เพื่อความปลอดภัยของนักวิ่ง ปัญหาการปิดถนน เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นมินิ-ฮาล์ฟ ครั้งที่ 4 นี้ก็จะเป็นบทเรียนให้กับผู้จัดได้ไม่น้อยทีเดียว สิ่งหนึ่งที่อยากฝากผู้จัดในครั้งต่อไป การจัดวิ่งในกรุงเทพฯค่อนข้างเป็นอะไรที่ยุ่งยากมาก หากผู้จัดยังจะดำเนินการจัดเป็นมินิ-ฮาล์ฟมาราธอนต่อไป การเลือกสถานที่การแข่งขันนอกเขตกรุงเทพฯจะเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะดูจากทีมงานแล้วทำงานกันได้ดี แต่หากไม่ต้องการเปลี่ยนสถานที่ผู้จัดคงต้องลดระยะการแข่งขันลงเพื่อให้นักวิ่งมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นให้สมกับเป็นการวิ่งเพื่อสุขภาพ สุดท้ายขอขอบคุณทีมงานดอนบอสโกมินิ-ฮาล์ฟมาราธอน สำหรับความตั้งใจจริงที่จะพัฒนางานวิ่งนี้ ด้วยความตั้งใจนี้เชื่อว่างานนี้จะได้รับการสนับสนุนจากนักวิ่งในโอกาสต่อไปแน่นอน
ป้ายกำกับ:
030 เรื่องวิ่ง,
031 สนามวิ่งเมืองไทย,
036 TRES by tsdk
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)