โสก
สกุล: Saraca Fabaceae (Leguminosae-Caesalpinioideae)
โสกเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้น หูใบหลุดร่วงง่าย บางครั้งไม่มีหูใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม ดอกออกเป็นช่อเชิงหลั่น ออกตามซอกใบ ปลายกิ่งหรือตามลำต้น ดอกสมบูรณ์เพศหรือมีเพศเดียว ฐานรองดอกเป็นหลอด กลีบเลี้ยงคล้ายกลีบดอก มี 4 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 3-9 อัน อิสระต่อกัน ยื่นเลยวงกลีบ รังไข่มีก้าน ก้านเกสรเพศเมียรูปเส้นด้าย ผลเป็นฝักแข็ง แบน เมล็ดไม่มีเอนโดสเปิร์ม สกุล Saraca มีสมาชิก 8 ชนิดทั่วโลก การกระจายพันธุ์เฉพาะแถบเอเชียเขตร้อน ในไทย พบ 3 ชนิดหลัก คือ โสกน้ำ Saraca indica L., โสกเหลือง Saraca cauliflora Baker และ โสกเขา Saraca declinata (Jack.) Miq.
โสก, โสกน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saraca indica L.
ชื่อวงศ์ : Leguminosae-Caesalpinioideae
ชื่อสามัญ : Asoke tree, Saraca, Asoka
ชื่อพื้นเมือง : กะแปะห์ไอย์ ชุมแสงน้ำ ตะโดลีเต๊าะ ส้มสุก โสก อโศกน้ำ
โสกเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ประมาณ 25 ม. แกนกลางใบยาว 10-50 ซม. ใบย่อยมี 1-7 คู่ ใบย่อยรูปรี รูปไข่ หรือรูปใบหอก ยาว 5-30 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนใบกลม รูปหัวใจหรือรูปลิ่ม ก้านใบย่อยยาว 0.3-0.5 ซม. ช่อดอกยาว 3-15 ซม.กว้างประมาณ 10-20 ซม. ก้านดอกยาว 1-2.5 ซม. ฐานรองดอกยาว 0.7-1.6 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมรูปรี ยาว 0.5-1.2 ซม. สีส้มแดง เกสรเพศผู้มี 6-8 อัน รังไข่มีขนตามขอบ ฝักรูปไข่ หรือรูปรีแกมขอบขนาน ยาว 6-25 ซม. ปลายเป็นจะงอยสั้นๆ ก้านฝักยาวประมาณ 0.5 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดรูปไข่ แบน มี 1-3 เมล็ด โสกน้ำมีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และชวา ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ระดับความสูงจนถึง 900 เมตร
อนึ่ง เดิมใช้คำว่า อโศกหรือโศก แต่ความหมายมีแต่ความทุกข์ ความเศร้า จึงเปลี่ยนเป็น โสก แทน และไม่ใช่ต้นโศกของอินเดีย ซึ่งเป็นชนิด Saraca asoka (Roxb.) de Wilde หรือ Asoka tree ที่ชาวอินเดียนิยมใช้บูชาพระและถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความรัก
สกุล: Saraca Fabaceae (Leguminosae-Caesalpinioideae)
โสกเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้น หูใบหลุดร่วงง่าย บางครั้งไม่มีหูใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม ดอกออกเป็นช่อเชิงหลั่น ออกตามซอกใบ ปลายกิ่งหรือตามลำต้น ดอกสมบูรณ์เพศหรือมีเพศเดียว ฐานรองดอกเป็นหลอด กลีบเลี้ยงคล้ายกลีบดอก มี 4 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 3-9 อัน อิสระต่อกัน ยื่นเลยวงกลีบ รังไข่มีก้าน ก้านเกสรเพศเมียรูปเส้นด้าย ผลเป็นฝักแข็ง แบน เมล็ดไม่มีเอนโดสเปิร์ม สกุล Saraca มีสมาชิก 8 ชนิดทั่วโลก การกระจายพันธุ์เฉพาะแถบเอเชียเขตร้อน ในไทย พบ 3 ชนิดหลัก คือ โสกน้ำ Saraca indica L., โสกเหลือง Saraca cauliflora Baker และ โสกเขา Saraca declinata (Jack.) Miq.
โสก, โสกน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saraca indica L.
ชื่อวงศ์ : Leguminosae-Caesalpinioideae
ชื่อสามัญ : Asoke tree, Saraca, Asoka
ชื่อพื้นเมือง : กะแปะห์ไอย์ ชุมแสงน้ำ ตะโดลีเต๊าะ ส้มสุก โสก อโศกน้ำ
โสกเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ประมาณ 25 ม. แกนกลางใบยาว 10-50 ซม. ใบย่อยมี 1-7 คู่ ใบย่อยรูปรี รูปไข่ หรือรูปใบหอก ยาว 5-30 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนใบกลม รูปหัวใจหรือรูปลิ่ม ก้านใบย่อยยาว 0.3-0.5 ซม. ช่อดอกยาว 3-15 ซม.กว้างประมาณ 10-20 ซม. ก้านดอกยาว 1-2.5 ซม. ฐานรองดอกยาว 0.7-1.6 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมรูปรี ยาว 0.5-1.2 ซม. สีส้มแดง เกสรเพศผู้มี 6-8 อัน รังไข่มีขนตามขอบ ฝักรูปไข่ หรือรูปรีแกมขอบขนาน ยาว 6-25 ซม. ปลายเป็นจะงอยสั้นๆ ก้านฝักยาวประมาณ 0.5 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดรูปไข่ แบน มี 1-3 เมล็ด โสกน้ำมีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และชวา ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ระดับความสูงจนถึง 900 เมตร
อนึ่ง เดิมใช้คำว่า อโศกหรือโศก แต่ความหมายมีแต่ความทุกข์ ความเศร้า จึงเปลี่ยนเป็น โสก แทน และไม่ใช่ต้นโศกของอินเดีย ซึ่งเป็นชนิด Saraca asoka (Roxb.) de Wilde หรือ Asoka tree ที่ชาวอินเดียนิยมใช้บูชาพระและถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความรัก