สาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง ดอกไม้ทะเล ฟองน้ำทะเล และหอยมือเสือ โดยอยู่แบบพึ่งพาอาศัย การอยู่ร่วมแบบนี้ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ สาหร่ายพวกนี้เป็นสาหร่ายเซลล์เดียวพวกไดโนแฟลเจลเลต (dinoflagellate) ซึ่งจะดึงเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากการหายใจของสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ รวมทั้งของเสียที่ถูกปล่อยออกมามาใช้ในการสังเคราะห์แสง ปะการัง หอยมือเสือ หรือโฮสต์อื่นๆก็จะได้รับสารอาหารคืนจากที่สาหร่ายผลิตได้บางส่วน นอกจากนั้นสาหร่ายซูแซนเทลลียังทำให้เกิดสีสรรในตัวโฮสต์ที่อาศัยอีกด้วย
25.12.51
ปลาตีน (Periophthalmodon schlosseri)
ชื่อเรียกทั่วไป: Mudskipper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Periophthalmodon schlosseri, Periophthalmus barbarus, Periopthalmus koelreuteri, Periopthalmus novemradiatus, Periopthalmus pearsei, Periopthalmus variabilis, Gobius novemradiatus
เป็นปลากระดูกแข็งในวงศ์ Periopthalmidae
อันดับ Periformes เช่นเดียวกับปลากะพง ปลาทูและปลาหางแข็ง
มีชื่ออื่นเรียกตามท้องถิ่นคือ ปลากระจัง ปลาดีจัง ปลาจุมพรวด และปลาพรวด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Periophthalmodon schlosseri, Periophthalmus barbarus, Periopthalmus koelreuteri, Periopthalmus novemradiatus, Periopthalmus pearsei, Periopthalmus variabilis, Gobius novemradiatus
เป็นปลากระดูกแข็งในวงศ์ Periopthalmidae
อันดับ Periformes เช่นเดียวกับปลากะพง ปลาทูและปลาหางแข็ง
มีชื่ออื่นเรียกตามท้องถิ่นคือ ปลากระจัง ปลาดีจัง ปลาจุมพรวด และปลาพรวด
แท้จริงปลาตีนไม่มีตีนสำหรับเดิน แต่มันสามารถคืบคลานและกระโดดไปบนพื้นเลนหรือกระโดดเลียดไปตามผิวหน้าน้ำได้ไกลเพราะมันใช้ครีบอกซึ่งพัฒนาเป็นกล้ามเนื้อยื่นยาวและแข็งแรงช่วย ปลาตีนมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25 ซม. ข้างลำตัวแบนเล็กน้อย มีเกล็ดปกคลุมทั่วลำตัว โดยทั่วไปออกสีเทามีแถบสีน้ำตาลพาด บริเวณหัวและตามตัวมีจุดวาว ๆ สีเขียวมรกต ปลายครีบหลังสีขาวเหลือบสะท้อนแสง ทำให้แลเห็นเป็นทั้งสีน้ำตาล สีน้ำเงิน และวาวเหมือนมุก ปลาตีนมีฟันเขี้ยวซี่เล็ก ๆ ขบซ้อนเหลื่อมกันทั้งริมขากรรไกรบนและล่าง ตำแหน่งของปากอยู่ปลายสุดของหัวขนานกับพื้น เหมาะกับการกินอาหารในขณะคืบคลานไปพร้อมกัน ดวงตาของมันอยู่ค่อนข้างชิดกัน สามารถกลอกไปมาและมองเห็นได้ดีทั้งบนบกและในน้ำ ใช้ตรวจสภาพรอบ ๆ ระวังภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีหนังตาล่างหนาใช้ป้องกันดวงตาจากเศษโคลนทรายได้ ปลาตีนชอบขุดรูอยู่ตามป่าชายเลนและปากแม่น้ำ ใช้รูเป็นที่หลบซ่อนตัว มันจะคืบคลานหากินอินทรีย์วัตถุและสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ บนผิวดิน โดยจะคอยระวังภัยเสมอ นอกจากอ่าวไทยแล้วถิ่นการกระจายของปลาตีนยังอยู่บริเวณอ่าวเบงกอล ชายฝั่งทะเลอันดามัน คาบสมุทรมลายู และเกาะบอร์เนียว ชาวบ้านนิยมจับมาทำเป็นอาหาร
ที่มาข้อมูลจาก: หนังสือบันทึกสิ่งแวดล้อมป่าเขตร้อนกองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ป้ายกำกับ:
550 สัตว์น้ำ (Aquatic animal)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)