23.11.52

กินยั้งมะเร็งกับนักกำหนดอาหาร

มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง และนั่นรวมถึงการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม แบบไหนเรียกว่าเหมาะสม หรือไม่เหมาะสม ต้องติดตามสาเหตุของการเกิดมะเร็ง มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างด้วยกัน นอกเหนือจาก 'พันธุกรรม' ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุหนึ่งในสามของการเสียชีวิตจากมะเร็งทั้งหมด"มะเร็งบาง ชนิดมีการทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร เช่น มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส มะเร็งปอดสาเหตุสำคัญคือการสูบบุหรี่ แต่ยังมีมะเร็งอีกหลายชนิดที่เราไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ซึ่งอาหารก็ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งเหล่า นั้นได้ เช่น มะเร็งลำไส้ เชื่อว่าการที่เรารับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ เกิดมะเร็งลำไส้ได้ การรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อราอาจเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งตับ แต่คนเป็นมะเร็งตับเกิดจากอาหารอย่างเดียวหรือเปล่า...ก็ไม่ใช่"

นุชธิดา สมัยสงฆ์ นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวถึงความสัมพันธ์ของอาหารกับมะเร็งเป็นสาเหตุของกันและกันได้อย่างไรปัจจุบัน นักกำหนดอาหาร มีส่วนสำคัญต่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โดยเป็นหนึ่งใน Patient Care Team ทำงานร่วมกับทีมแพทย์ ดูแลด้านโภชนาการของผู้ป่วย ทำหน้าที่ประเมินภาวะโภชนาการ วางแผนโภชนบำบัดและให้คำแนะนำถึงรูปแบบการรับประทานอาหารที่เหมาะสมและสอด คล้องตามสภาวะร่างกาย สภาวะของโรค แผนการรักษา และพฤติกรรมผู้ป่วยแต่ละราย ดูแลความถูกต้องของอาหารที่ผู้ป่วยได้รับขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลให้ ตรงตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ พร้อมประเมินและติดตามผลการโภชนบำบัดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้คำแนะนำเวลาผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้านให้สามารถเป็นแนวทาง ปฏิบัติต่อไปได้การรับประทานอาหารที่ดีและได้รับสารอาหารครบถ้วนก่อนการรักษา ระหว่างการรักษา และหลังการรักษา จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและดีขึ้น วิธีการทำงานของ 'นักกำหนดอาหาร' คือ ประเมินน้ำหนัก-ส่วนสูงของผู้ป่วยมะเร็ง ที่นี่เรามีเครื่องมือวัดไขมันใต้ผิวหนัง วัดปริมาณกล้ามเนื้อในร่างกาย ซักประวัติการรับประทาน คนไข้มีประวัติน้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือลดลงหรือไม่ การรับประทานอาหารมีภาวะคลื่นไส้อาเจียนหรือไม่ ใช้หลายข้อมูลประกอบกัน บางครั้งคนไข้มีการเจาะเลือดก็จะใช้ผลเลือดมาประกอบด้วยนุชธิดา สมัยสงฆ์ กล่าวและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการดูแลภาวะโภชนาการกับผู้ป่วยมะเร็งว่า "คนไข้มะเร็ง ก่อนผ่าตัดเราต้องดูแลภาวะโภชนาการให้เหมาะสม เพื่อที่หลังผ่าตัดระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาลจะได้สั้นลง แผลหายได้เร็วขึ้น ต้องดูว่าก่อนหน้ามาโรงพยาบาลหกเดือนคนไข้มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว หรือเปล่า ช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาลักษณะการรับประทานได้เหมือนเดิม หรือรับประทานเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่ อาหารกลุ่มไหนที่รับประทานเป็นหลัก เช่น ในส่วนของข้าวรับประทานข้าวขาวหรือข้าวกล้อง ปริมาณมากน้อยแค่ไหนในแต่ละมื้อ เนื้อสัตว์ที่รับประทานเป็นเนื้อสัตว์แบบไหน ประเมินอาหารในแต่ละส่วน ก่อนผ่าตัดมีการเจาะเลือด ก็จะดูผลเลือดว่ามีส่วนไหนที่บกพร่อง มีน้ำตาลในเลือดสูง มีไขมันในเส้นเลือดแค่ไหน ถ้าการผ่าตัดกรณีที่รอได้ เราก็จะปรับภาวะโภชนาการให้อยู่ในระดับที่ดีก่อน"ในฐานะนักกำหนดอาหาร นุชธิดาให้ข้อคิดเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงการเป็นมะเร็ง ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนตี้ออกซิแดนท์) ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และซีลีเนียม แหล่งอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระคือ ผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ (ถั่วต่างๆ ลูกเดือย ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์) ผัก-ผลไม้ควรรับประทานทุกวัน ถ้าเป็นผักสุกมื้อหนึ่งประมาณหนึ่งทัพพี ถ้าเป็นผักสดประมาณหนึ่งถ้วยข้าวต้มอย่างน้อย ถ้ารับประทานได้มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ดีมากขึ้น สำหรับผลไม้ปริมาณที่เหมาะสมคือกินให้ได้ 2-3 ครั้ง/วัน ถ้าเป็นผลไม้ลูกกลมๆ เช่น แอปเปิล ให้กินหนึ่งผลต่อหนึ่งมื้อ ถ้าเป็นผลไม้ลูกโตๆ เช่น สับปะรด แตงโม มื้อหนึ่งควรกินให้ได้ประมาณ 8 คำ


  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อมะเร็ง เช่น อาหารที่มีการเติมสารถนอมอาหารต่างๆ เช่น สารกันบูด สารกันเชื้อรา


  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเชื้อราปนเปื้อน นอกจากดูวันผลิตและวันหมดอายุซึ่งเป็นหลักสำคัญ รองลงไปคือสังเกตด้วยตาเปล่า ถ้ามีเชื้อราเพียงเล็กน้อยก็ไม่ควรรับประทานแล้ว อาหารที่เลยกำหนดวันหมดอายุไปเพียงเล็กน้อยก็อาจมีเชื้อราที่มองไม่เห็นด้วย ตาเปล่าเกิดขึ้นได้เช่นกัน


  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดหวานจัด


  • หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ให้ไขมันมากเกินไป อาหารที่มีไขมันสูง การได้รับไขมันในปริมาณมากเกินไป คือเกิน 30-35% ของพลังงานที่เราได้รับทั้งหมด โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว ไขมันที่มาจากสัตว์ อาจมีผลทำให้เกิดมะเร็งได้ เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง


  • หลีกเลี่ยงอาหารประเภทปิ้ง-ย่างหรือเผาไหม้จนเกรียม โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เนื่องจากไขมันในสัตว์เนื้อแดงและสัตว์ปีกเมื่อเจอกับความร้อนจะเกิดสารออกซิเดชั่น เป็นสารแห่งความเสื่อม ซึ่งจะทำให้เกิดโรคในกระบวนการความเสื่อมต่างๆ เช่น ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็งแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าอาหารปิ้ง-ย่างเป็นอันตรายจน กระทั่งกินไม่ได้ ยังสามารถกินได้ใน ปริมาณพอเหมาะ ที่สำคัญคือ ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นประจำ (หรือที่เรียกว่ากินซ้ำซาก) เพราะเท่ากับเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากขึ้น แต่ถ้าหลีกเลี่ยงได้จะเป็นการดีที่สุด

นุชธิดา สมัยสงฆ์ ให้ความเห็นไว้ด้วยว่า ถ้าย้อนกลับไปดูในอดีต ผัก-ผลไม้ เป็นสิ่งที่คนไทยกินทุกวัน คนสมัยก่อนถ้าไม่กินผักกินข้าวไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่สมัยนี้เราไม่กินผัก-ผลไม้ บางคนไม่เคยคิดว่าวันนี้กินผัก-ผลไม้ไปหรือยัง คือกินไปตามความอยาก โดยที่ไม่ได้ดูว่ามีส่วนประกอบอะไรในอาหารบ้าง เช่น ถ้าเรากินข้าวมันไก่ มีแตงกวาสองสามชิ้น ก็ไม่ใช่ปริมาณที่เพียงพอ ตอนเย็นก็ไปกินพิซซ่า แต่ไม่ตักสลัด ก็ไม่ได้ผักอีก ตอนเช้าดื่มนมแค่กล่องเดียว ก็ไม่มีผัก ถามว่ากินผลไม้หลังอาหารหรือเปล่า...ก็ไม่ เลือกกินเป็นขนม บางคนก็ดื่มน้ำหวาน น้ำเปล่าก็ได้รับน้อยลง เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งอันเนื่องจากการรับประทานอาหาร ที่ไม่เหมาะสมในชีวิตประจำวันนอกจากเลี่ยงอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการทำให้เกิดมะเร็ง คราวนี้ลองมาพิจารณาว่าจะกินอาหารอย่างไรเพื่อช่วยให้ห่างไกลจากมะเร็ง ซึ่งมีคำแนะนำเบื้องต้นดังนี้


  • เลือกกินอาหารที่มาจากพืชเป็นส่วนใหญ่ การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อควรมีผักและผลไม้ทุกครั้ง (อาหารที่มีกากใยสูง)


  • ควรรับประทานผักให้มีความหลากสี (ไม่ควรรับประทานชนิดเดียวซ้ำๆ) เช่น ผักสีขาว ได้แก่ หอมใหญ่ ผักกาดขาว ดอกแค กะหล่ำปลี, ผักสีเขียว ได้แก่ บร็อกโคลี ถั่วฝักยาว คะน้า ผักบุ้ง, ผักสีแดง ได้แก่ มะเขือเทศ แครอท, ผักสีเหลือง ได้แก่ ข้าวโพดอ่อน ฟักทอง, ผักสีม่วง ได้แก่ มะเขือม่วง


  • หากต้องการโปรตีน ลองหันมากินโปรตีนจากพืช เช่น เห็ด ถั่วเหลือง สลับกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์


  • เลือก รับประทาน 'อาหารว่าง' ที่ประกอบจากผักหรือผลไม้ แทนขนมหวาน เช่น ผลไม้สด ผลไม้ลอยแก้ว น้ำส้มคั้นสด น้ำบีทรูท น้ำฟักทอง น้ำแครอท

ใครๆ ก็รู้ว่าป้องกันไว้ก่อนดีกว่ามาตามแก้ไขภายหลัง แต่คนเรามักชะล่าใจ ปล่อยตัวตามใจปากตามใจอยาก อย่างไรก็ตาม 'มะเร็ง' นอกจากต้องระวังเรื่องอาหารการกิน เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ยังมีเรื่องของ 'สิ่งแวดล้อม' และ 'ความเครียด' เข้ามาเป็นปัจจัยอีกด้วย


เมนูอาหารต้านมะเร็ง :

1. สไปซี่นัทส์ (Spicy Nuts)
ส่วนผสม: ถั่วบราซิล 140 กรัม ถั่วเฮเซล 115 กรัม ถั่วอัลมอนด์ 140 กรัม มะม่วงหิมพานต์ 140 กรัม ถั่วพีแคน 110 กรัม น้ำพริกแกงแดง 4 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ สาหร่ายโนริอบแห้ง 1 แผ่น เกลือปรุงรส (เล็กน้อย)
วิธีทำ: ผสมถั่วทั้งหมดลงในโถคลุกอาหาร ตามด้วยน้ำพริกแกงแดง น้ำผึ้ง เกลือ คลุกเคล้าจนเข้ากันดี เทใส่ถาดอบ นำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส ประมาณ 15-20 นาที หรือจนถั่วเป็นสีเหลืองสวย ทิ้งให้เย็น ม้วนสาหร่ายให้แน่น หั่นตรงกลางความยาว ซ้อนสาหร่ายแล้วหั่นเป็นเส้นๆ (หรือใช้กรรไกรตัดก็ได้) ผสมกับถั่วใส่ไว้ในขวดโหลกันอากาศ เก็บไว้รับประทานเป็นของว่าง
คุณค่าอาหาร: ถั่วเปลือกแข็งชนิดต่างๆ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก คือ ซีลีเนียมและวิตามินอี เส้นใยอาหารสูงในถั่วยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้อีกด้วย


2. แซลมอนดิ๊ปอโวคาโด (Salmon dip Avocado)
ส่วนผสม: กระเทียม 1 กลีบ อโวคาโด 1 ผล แซลมอนนึ่งสุก 100 กรัม เต้าหู 125 กรัม มะเขือเทศบด 1 ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูสดสับ 1/2 ช้อนชา พาร์สลีสดสับ 1 ช้อนชา มะเขือเทศ 1 ลูก ขนมปังโฮลวีต
วิธีทำ: ทุบกระเทียมแล้วบดให้ละเอียด ปอกอโวคาโดแล้วหั่นเป็นชิ้นๆ ใส่ลงในเครื่องบด ตามด้วยเนื้อปลา เต้าหู มะเขือเทศบด พริกขี้หนู ปั่นให้ละเอียด ตักใส่จาน หั่นมะเขือเทศเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับพาร์สลี่ไว้สำหรับตกแต่ง รับประทานกับขนมปังปิ้ง
คุณค่าอาหาร: สารไลโคพีนซึ่งพบมากในมะเขือเทศ เมื่อทำงานร่วมกับวิตามินอี ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก สารไฟโตเอสโตรเจนจากเต้าหู้ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันมะเร็ง


3. แกงกะหรี่ผัก
ส่วนผสม: กะหล่ำดอก 1/4 หัว บร็อกโคลี 1 หัว บรัซเซลสเปราท์ 8 หัว แอสพารากัส (หรือจะใช้ถั่วแขกก็ได้) 2 ก้าน ฟักทอง 200 กรัม หอมหัวใหญ่ 2 หัว กระเทียม 4 กลีบ น้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ ผงแกงกะหรี่ 1 ช้อนโต๊ะ มะเขือเทศกระป๋องหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 800 กรัม น้ำซุปผัก 2 ถ้วย มะเขือเทศบดในกระป๋อง 2 ช้อนโต๊ะ เกลือหรือน้ำปลา 1 ช้อนชา ผักชีสับหยาบ 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ: ตัดดอกกะหล่ำและบร็อกโคลีเป็นช่อเล็กๆ หั่นครึ่งบรัซเซลสเปราท์ ตัดยอดแอสพารากัสหั่นผ่ากลาง (ถ้าใช้ถั่วแขก เล็มปลายถั่วและหั่นครึ่งตามขวาง) หั่นฟักทองเป็นชิ้นพอดีคำ หั่นหอมหัวใหญ่เป็นแว่น ทุบกระเทียม ตั้งน้ำมันในกระทะเพื่อผัดผักทั้งหมด เริ่มจากผัดหัวหอมใหญ่และกระเทียมประมาณห้านาที ใส่ผงกะหรี่ ผัดต่อไปหนึ่งนาทีจนเริ่มหอม ใส่มะเขือเทศ น้ำซุปผัก มะเขือเทศบดและเกลือ ต้มต่อจนเดือด ใส่ฟักทอง ต้มต่อห้านาที ตามด้วยบร็อกโคลี บรัซเซลสเปราท์ แอสพารากัส ต้มต่ออีก 10-15 นาที หรือจนผักนุ่มขึ้น เสิร์ฟร้อนๆ แต่งหน้าด้วยผักชี
คุณค่าอาหาร: เบต้าแคโรทีนเป็นสารมีสีพบในผักสีเข้ม มีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม สารไลโคพีนเมื่อทำงานร่วมกับวิตามินอีช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก, สารอินโดล (พบในบร็อกโคลี) อาจช่วยป้องกันมะเร็งที่สัมพันธ์กับฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก, ไดอัลลิลซัลไฟด์ (มีในหอมหัวใหญ่) ช่วยเพิ่มระดับเอนไซม์ที่ต่อสู้กับมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งในกระเพาะอาหาร วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันมะเร็ง
เคล็ดลับ: การนำผักสดมาปรุงอาหารควรใช้วิธีนึ่ง ผักจะคงคุณค่าสารอาหารไว้ได้มากกว่าวิธีการลวก


เครื่องดื่ม Citrus Drink
ส่วนผสม: น้ำส้มเกรฟฟรุตคั้น 1/2 ถ้วย มะละกอหั่นชิ้น 1 ถ้วย น้ำส้มคั้น 1 ถ้วย น้ำแข็งป่น 1 ถ้วย
วิธีทำ: ปั่นส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกันให้ละเอียด รินใส่แก้วพร้อมดื่มคุณค่าอาหาร: เบต้าแคโรทีนมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันมะเร็ง


ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
http://www.bangkokhospital.com
http://www.bangkokhealth.com