ฉลองครองราชย์ฯ 60 ปี อัลตร้ามาราธอน 60K
อาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2549ณ หอศิลป์สยาม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
สรุปผลการประเมิน TRES: 70 คะแนน
เส้นทางการเดิน-วิ่ง: การวิ่งฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี อัลตร้ามาราธอน 60K ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการแข่งขันเป็นหลัก หากแต่เป็นการวิ่งเพื่อเทิดพระเกียรติและฉลองการครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงของเรา เส้นทางการแข่งขันสำหรับการวิ่ง 60 กิโลเมตรครั้งนี้เป็นเส้นการวิ่งบนไหล่ทางจากบริเวณหน้าหอศิลป์สยาม ตรงข้ามหน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิ่งออกไปทาง อ.สะเดา เป็นการวิ่งไปกลับเส้นทางเดิม ไป 30 กิโลและกลับมาอีก 30 กิโล เส้นทางการวิ่งมีทั้งทางเรียบสลับกับเนินที่ไม่สูงมาก การวิ่งครั้งนี้ปล่อยตัวเวลา 00.01 น. มีข้อดีคือนักวิ่งไม่ร้อน แต่ก็มีข้อเสียตรงที่เส้นทางค่อนข้างมืด นักวิ่งมองไม่ค่อยเห็นบรรยากาศและทิวทัศน์ของเส้นทางมากนักหรือแม้แต่จะเห็นนักวิ่งด้วยกันเอง จุดให้น้ำและป้ายบอกระยะทางผู้จัดเตรียมการไว้อย่างดี และมีทีมจักรยานคอยดูแลนักวิ่งเป็นช่วงๆ เที่ยวขากลับหลังจาก 06.30 น. การจราจรเริ่มขวักไขว่ การวิ่งบนไหล่ทางทำให้นักวิ่งวิ่งลำบาก ต้องคอยระมัดระวังรถที่ขับไปมาบนถนนมากขึ้น
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง: การวิ่งในครั้งนี้เป็นการวิ่งที่มีระยะมากกว่า 42.195 หรือระยะมาราธอนโดยทั่วไป นักวิ่งควรมีการเตรียมตัวดังนี้
การเตรียมตัวและเตรียมใจให้พร้อมสำหรับการวิ่งระยะอัลตร้ามาราธอน ควรมีการฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี และผ่านการวิ่งระยะมาราธอนมาบ้าง ในการฝึกซ้อมระยะมาราธอน 42.195 ควรวิ่งให้ได้ตลอดระยะมาราธอน ซึ่งจะช่วยให้นักวิ่งไม่ทรมานมากนัก หากไม่สามารถวิ่งยืนระยะยาวได้ครบ 42.195 ระยะทางที่ต้องไปต่ออีกเกือบ 20 กิโล จะเป็นระยะที่ทรมานมากๆ มันจะทำให้นักวิ่งท้อและไม่จบการแข่งขันได้ง่ายๆ
เตรียมอุปกรณ์สำหรับการวิ่งที่มีการปล่อยตัวตอนกลางคืนควรมีการเตรียมไฟฉายหรือไฟกระพริบติดตัวไปด้วยก็จะเป็นการดีเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนั้นควรใส่เสื้อผ้าที่สว่างหรือมีบางส่วนเป็นแถบสะท้อนแสง
คำแนะนำสำหรับผู้จัด: การจัดในครั้งนี้ถือว่าเป็นการจัดขึ้นเพียงครั้งเดียว ไม่ได้จัดเป็นงานวิ่งประเพณีหรือประจำทุกปี ดังนั้นบางครั้งผู้จัดจึงไม่ได้ตระหนักในเรื่องความสวยงามของเส้นทางการวิ่งมากนัก หากแต่อาศัยความสะดวกในการจัดเป็นหลัก แม้จะเป็นการจัดงานวิ่งเฉพาะกิจเช่นนี้ก็อยากให้ผู้จัดได้หาเส้นทางที่ดีกว่าหรือสวยงามกว่านี้ได้ก็จะเป็นการดี นอกจากนั้นการวิ่งระยะทางไกลๆ การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมมากยิ่งขึ้นก็จะดีไม่น้อยทีเดียว หรือมีกองเชียร์บ้างก็จะทำให้นักวิ่งไม่เหงา วิ่งระยะทางไกลถึง 60 กิโลนักวิ่งก็เบื่อเหมือนกัน และภาพในการเตรียมการโดยรวมสำหรับงานนี้ก็ถือว่าใช้ได้
28.5.49
21.5.49
ทัพฟ้ามินิ-ฮาล์ฟมาราธอน เฉลิมพระเกียรติ
ทัพฟ้ามินิ-ฮาล์ฟมาราธอน เฉลิมพระเกียรติ
อาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2549
ณ กองบัญชาการกองทัพอากาศ ดอนเมือง กรุงเทพฯ
สรุปผลการประเมิน TRES: 75 คะแนน จัดได้ดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง: สำหรับเส้นทางการวิ่งมี 3 ระยะให้เลือก คือ 5กม. 12 กม. และ 21 กม. เส้นทางการวิ่ง วิ่งภายในเขตบริเวณภายในกองทัพอากาศ เรียบสนามบินและบริเวณลานบิน เส้นทางเป็นทางเรียบลาดยางและพื้นซีเมนต์(ลานบิน) ไม่มีเนิน ทั้ง 3 ระยะจากจุดปล่อยวิ่งวนเข้าสู่เส้นชัย เส้นทางการวิ่งของทหารอากาศมินิมาราธอนเป็นเส้นทางที่หาวิ่งได้ยากมากอีกสนาม นอกจากจะมีเครื่องบินจอดเรียงรายตามเส้นทางการวิ่งให้ได้เห็นกันชัดๆ บรรยากาศที่เครื่องบินกำลังขึ้นและลงใกล้ๆ ซึ่งคิดว่าไม่มีสนามไหนให้นักวิ่งได้สัมผัส ได้เห็นกันขนาดนี้แน่นอนสำหรับการวิ่งในประเทศไทย และคงเป็นสนามฮาล์ฟมาราธอนสนามเดียวที่วิ่งได้รอบเดียวจบและปลอดภัยจากรถที่สัญจรไปมาในเมืองกรุง ป้ายบอกระยะตามเส้นทางการวิ่งมีให้เห็นชัดเจน แต่ก็จะมีนักวิ่งระยะสั้นบางท่านไม่ทันสังเกตป้ายวิ่งเลยจุดที่ต้องเลี้ยวตามเส้นทางวิ่งระยะยาว ดังนั้นเส้นทางการวิ่งที่ทับเส้นนักวิ่งควรสังเกตให้ดี ส่วนจุดให้น้ำระหว่างเส้นทางการแข่งขันมีบางจุดที่น้ำไม่เพียงพอ หรืออุปกรณ์ให้น้ำนักวิ่งไม่เพียงพอ หากว่าวันนั้นอากาศร้อนเหมือนที่ผ่านมา นักวิ่งก็คงไม่สบอารมณ์เท่าไหร่ โชคดีที่มีฝนพรมลงมาให้ชุ่มฉ่ำลดอารมณ์ร้อนไปได้บ้าง...
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง: สนามนี้ถูกจัดให้เหมาะกับนักวิ่งทุกระดับ เพราะมีให้เลือกถึง 3 ระยะเลยทีเดียว นอกจากจะมีถึง 3 ระยะให้เลือกแล้วการเดินทางไปวิ่งสนามนี้ก็ไม่ลำบากเพราะอยู่ใจกลางกรุงเทพ และเนื่องจากผู้จัดได้จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงนี้เดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นหน้าร้อน แต่ปีนี้อากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝนไม่ร้อนเหมือนปีที่ผ่านๆมา ทำให้นักวิ่งหลายคนตัดสินใจลงวิ่งระยะยาวกันมากขึ้น และเป็นสนามวิ่งในกรุงเทพที่เชื่อได้ว่าระหว่างเส้นทางการวิ่งนักวิ่งมีความปลอดภัยสูงมากทีเดียว... สำหรับนักวิ่งในกรุงเทพสนามนี้เป็นอีกทางเลือกที่หากมีโอกาสควรมาสัมผัส
คำแนะนำสำหรับผู้จัด: สำหรับการจัดงานปีนี้ก็ถือว่าดี สภาพการจัดงานบอกให้เห็นได้ว่ามีการจัดการและเตรียมการที่ดี เส้นทางการวิ่งก็เป็นเอกลักษณ์สำหรับสนามนี้ได้ดีอยู่แล้ว และถือว่าเป็นสนามที่มีการพัฒนาจากปีที่แล้วเป็นอย่างมาก อาทิ การเพิ่มระยะฮาล์ฟมาราธอนเพิ่มขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการนักวิ่งระยะยาวที่มีมากขึ้น เป็นแนวทางในการสร้างและฝึกฝนนักวิ่งมาราธอนในอนาคต แม้ว่าจะมีการพัฒนาได้ดี แต่ก็ยังมีจุดบกพร่องตามมาบ้างพอสมควรในเรื่องของจุดให้น้ำระหว่างเส้นทางการแข่งขันและหลังการแข่งขัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากจำนวนนักวิ่งที่เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาทำให้ปริมาณน้ำที่คาดการ์ณไว้ไม่เพียงพอ รวมไปถึงอาหารหลังเส้นชัยด้วยเช่นกัน... แต่ผู้จัดก็พยายามที่จะจัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี พยายามที่จะจัดหาน้ำมาเพิ่ม และอย่างน้อยก็มีข้าวต้มให้นักวิ่งคนสุดท้ายได้ทาน
ถึงแม้การจัดงานในครั้งนี้จะได้คะแนนไม่สูงเหมือนครั้งที่ผ่านมาด้วยข้อบกพร่องที่กล่าวมาข้างต้น แต่ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของเส้นทางวิ่ง การดูแลเรื่องความปลอดภัย รวมไปถึงความตั้งใจของผู้จัด เชื่อได้ว่าการจัดงานในครั้งต่อไปนักวิ่งจะมากยิ่งขึ้นกว่านี้แน่นอน และขอให้ผู้จัดเตรียมการต้อนรับนักวิ่งที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย... รวมทั้งระยะวิ่งที่ยาวมากขึ้นนักวิ่งที่ลงระยะนี้ใช้เวลาในการวิ่งที่นานกว่าระยะอื่นๆดังนั้น ควรคำนึงถึงและเตรียมการสำหรับนักวิ่งระยะยาวให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
ปล. สิ่งที่ขาดหายไปจากวันก่อนมาวันนี้นั่นคือ ถังขยะระหว่างเส้นทางการแข่งขัน ผู้จัดอาจจะเห็นว่าไม่ใช่สิ่งสำคัญ กอรปกับนักวิ่งมากมายถังขยะคงดูไม่มีประโยชน์ แต่ก่อนเข้าสู่เส้นชัยบริเวณลานบินทางด้านซ้ายเราจะเห็นคำว่า PREVENT FOD KEEP THIS AREA CLEAN … ฝากไว้ให้คิดละกัน...
อาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2549
ณ กองบัญชาการกองทัพอากาศ ดอนเมือง กรุงเทพฯ
สรุปผลการประเมิน TRES: 75 คะแนน จัดได้ดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง: สำหรับเส้นทางการวิ่งมี 3 ระยะให้เลือก คือ 5กม. 12 กม. และ 21 กม. เส้นทางการวิ่ง วิ่งภายในเขตบริเวณภายในกองทัพอากาศ เรียบสนามบินและบริเวณลานบิน เส้นทางเป็นทางเรียบลาดยางและพื้นซีเมนต์(ลานบิน) ไม่มีเนิน ทั้ง 3 ระยะจากจุดปล่อยวิ่งวนเข้าสู่เส้นชัย เส้นทางการวิ่งของทหารอากาศมินิมาราธอนเป็นเส้นทางที่หาวิ่งได้ยากมากอีกสนาม นอกจากจะมีเครื่องบินจอดเรียงรายตามเส้นทางการวิ่งให้ได้เห็นกันชัดๆ บรรยากาศที่เครื่องบินกำลังขึ้นและลงใกล้ๆ ซึ่งคิดว่าไม่มีสนามไหนให้นักวิ่งได้สัมผัส ได้เห็นกันขนาดนี้แน่นอนสำหรับการวิ่งในประเทศไทย และคงเป็นสนามฮาล์ฟมาราธอนสนามเดียวที่วิ่งได้รอบเดียวจบและปลอดภัยจากรถที่สัญจรไปมาในเมืองกรุง ป้ายบอกระยะตามเส้นทางการวิ่งมีให้เห็นชัดเจน แต่ก็จะมีนักวิ่งระยะสั้นบางท่านไม่ทันสังเกตป้ายวิ่งเลยจุดที่ต้องเลี้ยวตามเส้นทางวิ่งระยะยาว ดังนั้นเส้นทางการวิ่งที่ทับเส้นนักวิ่งควรสังเกตให้ดี ส่วนจุดให้น้ำระหว่างเส้นทางการแข่งขันมีบางจุดที่น้ำไม่เพียงพอ หรืออุปกรณ์ให้น้ำนักวิ่งไม่เพียงพอ หากว่าวันนั้นอากาศร้อนเหมือนที่ผ่านมา นักวิ่งก็คงไม่สบอารมณ์เท่าไหร่ โชคดีที่มีฝนพรมลงมาให้ชุ่มฉ่ำลดอารมณ์ร้อนไปได้บ้าง...
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง: สนามนี้ถูกจัดให้เหมาะกับนักวิ่งทุกระดับ เพราะมีให้เลือกถึง 3 ระยะเลยทีเดียว นอกจากจะมีถึง 3 ระยะให้เลือกแล้วการเดินทางไปวิ่งสนามนี้ก็ไม่ลำบากเพราะอยู่ใจกลางกรุงเทพ และเนื่องจากผู้จัดได้จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงนี้เดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นหน้าร้อน แต่ปีนี้อากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝนไม่ร้อนเหมือนปีที่ผ่านๆมา ทำให้นักวิ่งหลายคนตัดสินใจลงวิ่งระยะยาวกันมากขึ้น และเป็นสนามวิ่งในกรุงเทพที่เชื่อได้ว่าระหว่างเส้นทางการวิ่งนักวิ่งมีความปลอดภัยสูงมากทีเดียว... สำหรับนักวิ่งในกรุงเทพสนามนี้เป็นอีกทางเลือกที่หากมีโอกาสควรมาสัมผัส
คำแนะนำสำหรับผู้จัด: สำหรับการจัดงานปีนี้ก็ถือว่าดี สภาพการจัดงานบอกให้เห็นได้ว่ามีการจัดการและเตรียมการที่ดี เส้นทางการวิ่งก็เป็นเอกลักษณ์สำหรับสนามนี้ได้ดีอยู่แล้ว และถือว่าเป็นสนามที่มีการพัฒนาจากปีที่แล้วเป็นอย่างมาก อาทิ การเพิ่มระยะฮาล์ฟมาราธอนเพิ่มขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการนักวิ่งระยะยาวที่มีมากขึ้น เป็นแนวทางในการสร้างและฝึกฝนนักวิ่งมาราธอนในอนาคต แม้ว่าจะมีการพัฒนาได้ดี แต่ก็ยังมีจุดบกพร่องตามมาบ้างพอสมควรในเรื่องของจุดให้น้ำระหว่างเส้นทางการแข่งขันและหลังการแข่งขัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากจำนวนนักวิ่งที่เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาทำให้ปริมาณน้ำที่คาดการ์ณไว้ไม่เพียงพอ รวมไปถึงอาหารหลังเส้นชัยด้วยเช่นกัน... แต่ผู้จัดก็พยายามที่จะจัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี พยายามที่จะจัดหาน้ำมาเพิ่ม และอย่างน้อยก็มีข้าวต้มให้นักวิ่งคนสุดท้ายได้ทาน
ถึงแม้การจัดงานในครั้งนี้จะได้คะแนนไม่สูงเหมือนครั้งที่ผ่านมาด้วยข้อบกพร่องที่กล่าวมาข้างต้น แต่ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของเส้นทางวิ่ง การดูแลเรื่องความปลอดภัย รวมไปถึงความตั้งใจของผู้จัด เชื่อได้ว่าการจัดงานในครั้งต่อไปนักวิ่งจะมากยิ่งขึ้นกว่านี้แน่นอน และขอให้ผู้จัดเตรียมการต้อนรับนักวิ่งที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย... รวมทั้งระยะวิ่งที่ยาวมากขึ้นนักวิ่งที่ลงระยะนี้ใช้เวลาในการวิ่งที่นานกว่าระยะอื่นๆดังนั้น ควรคำนึงถึงและเตรียมการสำหรับนักวิ่งระยะยาวให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
ปล. สิ่งที่ขาดหายไปจากวันก่อนมาวันนี้นั่นคือ ถังขยะระหว่างเส้นทางการแข่งขัน ผู้จัดอาจจะเห็นว่าไม่ใช่สิ่งสำคัญ กอรปกับนักวิ่งมากมายถังขยะคงดูไม่มีประโยชน์ แต่ก่อนเข้าสู่เส้นชัยบริเวณลานบินทางด้านซ้ายเราจะเห็นคำว่า PREVENT FOD KEEP THIS AREA CLEAN … ฝากไว้ให้คิดละกัน...
ป้ายกำกับ:
030 เรื่องวิ่ง,
031 สนามวิ่งเมืองไทย,
036 TRES by tsdk
14.5.49
ไทย-ลาว (หนองคาย) มาราธอน
ไทย-ลาว (หนองคาย) มาราธอน
อาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2549
ณ อนุเสาวรีย์ปราบฮ่อ จ.หนองคาย
สรุปผลการประเมิน TRES: 75 คะแนน ใช้ได้ เกือบดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง: หนองคายมาราธอนปีนี้ปล่อยตัวเวลา 04.00 น. เส้นทางการแข่งขันสำหรับมาราธอนออกสตาร์ทจากอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ เลี้ยวไปเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว วิ่งย้อนกลับมาผ่านหน้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองบคาย เลี้ยงขวามาทางอุดรฯ กลับตัว กม. ที่15 แล้วย้อนกลับเข้าตัวเมืองหนองคาย เส้นทางการแข่งขันโดยส่วนใหญ่วิ่งบนไหล่ถนนลาดยางมีเนินสลับกับทางเรียบ การควบคุมการจราจรค่อนข้างดี ตามไหล่ทางก็ไม่มีเงาร่มไม้ให้หลบงานนี้ระยะมาราธอนก็วิ่งตากแดดเป็นเนื้อแดดเดียวกันไป ระหว่างเส้นทางการแข่งขันจุดให้น้ำมีบริการน้ำเย็นตลอด น้ำไม่มีขาด ส่วนที่ขาดก็คงจะเป็นป้ายบอกระยะที่บอกระยะขาดไปนิดหน่อยๆในช่วงต้นๆ เลยส่งผลให้ 1 กิโลสุดท้ายที่จะเข้าเส้นชัย กลายเป็น 2 กิโลกว่าๆเกือบ 3 กิโล
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง: งานวิ่งหนองคาย (ไทย-ลาว) มาราธอนในครั้งนี้จัดขึ้นถึง 4 ระยะ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 10 21 และ 42 กม. ดังนั้นนักวิ่งทุกระดับไม่ว่าจะเป็นน้องใหม่หรือผู้เจนสังเวียนสามารถร่วมวิ่งงานนี้ได้ เส้นทางก็ไม่ยากเกินไปนัก แต่หากนักวิ่งท่านใดที่ลงในระยะมาราธอนก็อาจจะต้องทนร้อนกันนิดๆหน่อยๆเท่านั้นเอง
คำแนะนำสำหรับผู้จัด: งานนี้ภาพโดยรวมจัดได้ดีพอสมควร แต่เป็นที่น่าเสียดายที่นักวิ่งร่วมงานไม่มากนัก เพื่อให้งานวิ่งหนองคายหรือที่ผู้จัดอยากให้เป็นไทย-ลาวมาราธอน ประเด็นหลักที่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจของนักวิ่งที่จะเข้าร่วมงานนี้ นั่นคือเส้นทางการวิ่ง เส้นทางการวิ่งในครั้งนี้ยังเป็นเส้นทางที่ยังไม่เด่นมากนัก เป็นเส้นทางที่วิ่งบนไหล่ถนนในตัวจังหวัดหนองคาย เริ่มต้นและสิ้นสุดในจ.หนองคายไม่ได้ข้ามไปสู่ประเทศลาว ในส่วนของระยะมาราธอนวิ่งผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแต่ก็ไม่ได้เห็นทัศนียภาพบนสะพานมากนักเพราะยังมืดอยู่ หากเป็นไปได้เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์และสมชื่อของงานวิ่งไทย-ลาวมาราธอน เส้นทางวิ่งจากหนองคาย (ไทย) สู่ เวียงจันทร์ (ลาว) เหมือนในปี 2546 น่าจะเป็นเส้นทางที่จะได้รับความสนใจและให้การตอบรับจากนักวิ่งมากกว่านี้
การจัดวิ่งข้ามประเทศจะเป็นงานที่มีความยุ่งยาก มีอุปสรรคมากพอสมควร รวมทั้งการจัดงานที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นไทย-ลาวมาราธอนจึงถือว่าเป็นมาราธอนที่ท้าทายทั้งผู้จัดและนักวิ่งไม่น้อยทีเดียว และหากมองถึงอนาคตสำหรับไทย-ลาวมาราธอน ที่สามารถวิ่งข้ามประเทศได้จริง วิ่งครั้งเดียวได้เที่ยวถึง 2 ประเทศเชื่อได้ว่าไม่เพียงนักวิ่งไทยเท่านั้นที่จะสนใจร่วมงานนี้แน่นอน และเพื่อให้ได้การสนับสนุนที่มากยิ่งขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ผู้จัดควรมีการวางแผนและประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนี้ งานวิ่งไทย-ลาวมาราธอนไม่จำเป็นที่จัดขึ้นทุกปีก็ได้ แต่ควรที่จะระยะเวลาในการจัดที่แน่นอนว่าจะจัดช่วงไหน เมื่อไหร่ และจะจัดขึ้นทุกๆกี่ปีก็ว่ากันไป
และในการจัดครั้งที่ผ่านมาสำหรับไทย-ลาวมาราธอน (หนองคาย) มาราธอน ก็ถูกประกาศให้นักวิ่งได้ทราบล่วงหน้ากันแทบไม่ถึงเดือน การประชาสัมพันธ์กระชั้นชิดสำหรับการจัดงานวิ่งมาราธอนถือว่าไม่เหมาะสักเท่าใดนัก นักวิ่งในระยะมาราธอนต้องการการฝึกฝนพอสมควร การแจ้งข่าวและประชาสัมพันธ์ในระยะเวลาอันกระชั้นชิดก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้นักวิ่งตัดสินใจไม่เข้าร่วมงานวิ่งนั้นๆเช่นกัน
หลังงานวิ่งจบลงแม้จะไม่มีเสียงบ่นก่นว่าตามหลังมาใช่ว่างานนั้นจะจัดได้ดีเยี่ยม หากแต่ว่างานวิ่งนั้นไม่มีนักวิ่งที่จะมาสะท้อนให้เห็นทำงานของผู้จัดเท่านั้นเอง ดังนั้นงานวิ่งที่มีนักวิ่งมากๆเสียงที่ตามมาย่อมสะท้อนให้ผู้จัดได้รู้ได้เห็นเป็นอย่างดีว่างานที่เราทำลงไปนั้นดีแค่ไหน มีผลตอบรับเป็นอย่างไร และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในการจัดงาน ไทย-ลาวมาราธอน หรือ หนองคายมาราธอน จะได้ยินเสียงตอบรับมากขึ้นกว่านี้ และขอเป็นกำลังใจให้กับผู้จัดที่จะจัดให้สนามนี้เป็นไทย-ลาวมาราธอนสมชื่อในอนาคต
ปล. ไทย-ลาวมาราธอนวิ่งข้ามประเทศ ควรที่จะเป็นอีกหนึ่งมาราธอนที่ได้รับการสนุนให้เป็นมาราธอนนานาชาติได้ ดังนั้นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่สนามวิ่งนี้จะได้รับการสนุนให้มากยิ่งขึ้นจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
อาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2549
ณ อนุเสาวรีย์ปราบฮ่อ จ.หนองคาย
สรุปผลการประเมิน TRES: 75 คะแนน ใช้ได้ เกือบดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง: หนองคายมาราธอนปีนี้ปล่อยตัวเวลา 04.00 น. เส้นทางการแข่งขันสำหรับมาราธอนออกสตาร์ทจากอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ เลี้ยวไปเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว วิ่งย้อนกลับมาผ่านหน้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองบคาย เลี้ยงขวามาทางอุดรฯ กลับตัว กม. ที่15 แล้วย้อนกลับเข้าตัวเมืองหนองคาย เส้นทางการแข่งขันโดยส่วนใหญ่วิ่งบนไหล่ถนนลาดยางมีเนินสลับกับทางเรียบ การควบคุมการจราจรค่อนข้างดี ตามไหล่ทางก็ไม่มีเงาร่มไม้ให้หลบงานนี้ระยะมาราธอนก็วิ่งตากแดดเป็นเนื้อแดดเดียวกันไป ระหว่างเส้นทางการแข่งขันจุดให้น้ำมีบริการน้ำเย็นตลอด น้ำไม่มีขาด ส่วนที่ขาดก็คงจะเป็นป้ายบอกระยะที่บอกระยะขาดไปนิดหน่อยๆในช่วงต้นๆ เลยส่งผลให้ 1 กิโลสุดท้ายที่จะเข้าเส้นชัย กลายเป็น 2 กิโลกว่าๆเกือบ 3 กิโล
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง: งานวิ่งหนองคาย (ไทย-ลาว) มาราธอนในครั้งนี้จัดขึ้นถึง 4 ระยะ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 10 21 และ 42 กม. ดังนั้นนักวิ่งทุกระดับไม่ว่าจะเป็นน้องใหม่หรือผู้เจนสังเวียนสามารถร่วมวิ่งงานนี้ได้ เส้นทางก็ไม่ยากเกินไปนัก แต่หากนักวิ่งท่านใดที่ลงในระยะมาราธอนก็อาจจะต้องทนร้อนกันนิดๆหน่อยๆเท่านั้นเอง
คำแนะนำสำหรับผู้จัด: งานนี้ภาพโดยรวมจัดได้ดีพอสมควร แต่เป็นที่น่าเสียดายที่นักวิ่งร่วมงานไม่มากนัก เพื่อให้งานวิ่งหนองคายหรือที่ผู้จัดอยากให้เป็นไทย-ลาวมาราธอน ประเด็นหลักที่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจของนักวิ่งที่จะเข้าร่วมงานนี้ นั่นคือเส้นทางการวิ่ง เส้นทางการวิ่งในครั้งนี้ยังเป็นเส้นทางที่ยังไม่เด่นมากนัก เป็นเส้นทางที่วิ่งบนไหล่ถนนในตัวจังหวัดหนองคาย เริ่มต้นและสิ้นสุดในจ.หนองคายไม่ได้ข้ามไปสู่ประเทศลาว ในส่วนของระยะมาราธอนวิ่งผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแต่ก็ไม่ได้เห็นทัศนียภาพบนสะพานมากนักเพราะยังมืดอยู่ หากเป็นไปได้เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์และสมชื่อของงานวิ่งไทย-ลาวมาราธอน เส้นทางวิ่งจากหนองคาย (ไทย) สู่ เวียงจันทร์ (ลาว) เหมือนในปี 2546 น่าจะเป็นเส้นทางที่จะได้รับความสนใจและให้การตอบรับจากนักวิ่งมากกว่านี้
การจัดวิ่งข้ามประเทศจะเป็นงานที่มีความยุ่งยาก มีอุปสรรคมากพอสมควร รวมทั้งการจัดงานที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นไทย-ลาวมาราธอนจึงถือว่าเป็นมาราธอนที่ท้าทายทั้งผู้จัดและนักวิ่งไม่น้อยทีเดียว และหากมองถึงอนาคตสำหรับไทย-ลาวมาราธอน ที่สามารถวิ่งข้ามประเทศได้จริง วิ่งครั้งเดียวได้เที่ยวถึง 2 ประเทศเชื่อได้ว่าไม่เพียงนักวิ่งไทยเท่านั้นที่จะสนใจร่วมงานนี้แน่นอน และเพื่อให้ได้การสนับสนุนที่มากยิ่งขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ผู้จัดควรมีการวางแผนและประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนี้ งานวิ่งไทย-ลาวมาราธอนไม่จำเป็นที่จัดขึ้นทุกปีก็ได้ แต่ควรที่จะระยะเวลาในการจัดที่แน่นอนว่าจะจัดช่วงไหน เมื่อไหร่ และจะจัดขึ้นทุกๆกี่ปีก็ว่ากันไป
และในการจัดครั้งที่ผ่านมาสำหรับไทย-ลาวมาราธอน (หนองคาย) มาราธอน ก็ถูกประกาศให้นักวิ่งได้ทราบล่วงหน้ากันแทบไม่ถึงเดือน การประชาสัมพันธ์กระชั้นชิดสำหรับการจัดงานวิ่งมาราธอนถือว่าไม่เหมาะสักเท่าใดนัก นักวิ่งในระยะมาราธอนต้องการการฝึกฝนพอสมควร การแจ้งข่าวและประชาสัมพันธ์ในระยะเวลาอันกระชั้นชิดก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้นักวิ่งตัดสินใจไม่เข้าร่วมงานวิ่งนั้นๆเช่นกัน
หลังงานวิ่งจบลงแม้จะไม่มีเสียงบ่นก่นว่าตามหลังมาใช่ว่างานนั้นจะจัดได้ดีเยี่ยม หากแต่ว่างานวิ่งนั้นไม่มีนักวิ่งที่จะมาสะท้อนให้เห็นทำงานของผู้จัดเท่านั้นเอง ดังนั้นงานวิ่งที่มีนักวิ่งมากๆเสียงที่ตามมาย่อมสะท้อนให้ผู้จัดได้รู้ได้เห็นเป็นอย่างดีว่างานที่เราทำลงไปนั้นดีแค่ไหน มีผลตอบรับเป็นอย่างไร และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในการจัดงาน ไทย-ลาวมาราธอน หรือ หนองคายมาราธอน จะได้ยินเสียงตอบรับมากขึ้นกว่านี้ และขอเป็นกำลังใจให้กับผู้จัดที่จะจัดให้สนามนี้เป็นไทย-ลาวมาราธอนสมชื่อในอนาคต
ปล. ไทย-ลาวมาราธอนวิ่งข้ามประเทศ ควรที่จะเป็นอีกหนึ่งมาราธอนที่ได้รับการสนุนให้เป็นมาราธอนนานาชาติได้ ดังนั้นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่สนามวิ่งนี้จะได้รับการสนุนให้มากยิ่งขึ้นจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ป้ายกำกับ:
030 เรื่องวิ่ง,
035 วิ่งมาราธอน,
036 TRES by tsdk
6.5.49
เดิน-วิ่ง-ปั่น พิทักษ์หัวหิน
เดิน-วิ่ง-ปั่น พิทักษ์หัวหิน
อาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม 2549
ณ อ. หัวหิน จ.ประจวบฯ
สรุปผลการประเมิน TRES: 66 คะแนน
เส้นทางการเดิน-วิ่ง:
จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดการแข่งขันอยู่บริเวณสวนหลวงราชินี (หัวหิน) โดยเส้นทางการแข่งขันระยะมินิ (10.55 กม.) และฮาล์ฟ (25 กม.) จากจุดสตาร์ทก็วิ่งออกสู่ถนนหัวหิน 35 เข้าสู่ถนนเพชรเกษมโดยเลี้ยวขวาวิ่งไปทางทิศเหนือแล้ววิ่งไปตามไหล่ถนนยาวเป็นทางเรียบโดยตลอด วิ่งลอดผ่านอุโมงค์จนไปถึงค่ายนเรศวร ระยะมินิกลับตัวกิโลที่ 5 ก่อนจะถึงค่ายนเรศวร ส่วนระยะฮาล์ฟวิ่งไปถึงค่ายนเรศวรแล้วเลี้ยวเข้าไปวิ่งวนภายในค่ายแล้ววิ่งย้อนกลับเส้นทางเดิม เส้นทางการจัดในครั้งยังไม่มีจุดเด่นมากนักเนื่องจากวิ่งบนไหล่ทางและข้างทางไม่มีร่มไม้ให้นักวิ่งได้หลบแดดดังนั้นนักวิ่งแนวหลังที่วิ่งช้าหน่อยมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไปก็อาบแดดกันไปเต็มๆ ตามเส้นทางการแข่งขันมีป้ายบอกระยะชัดเจน แต่สำหรับจุดให้น้ำในช่วงท้ายๆ เที่ยวกลับน้ำมีเพียงน้ำเปล่าเท่านั้นไม่มีน้ำแข็ง บางจุดน้ำหมดก่อนนักวิ่งทั้งหมดเข้าสู่เส้นชัย
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
เนื่องจากการจัดงานวิ่งพิทักษ์หัวหินในครั้งนี้ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการวิ่งที่ไม่มีการแข่งขันเป็นเน้นเพื่อการแข่งขันดังนั้นนักวิ่งการให้ความสำคัญกับนักวิ่งจะเน้นไปที่แนวหน้าเป็นหลัก ดังนั้นการวิ่งที่มีรูปแบบในลักษณะนี้ให้นักวิ่งแนวกลางหรือกลุ่มไม้ประดับพึงตระหนักและคำนึงให้รอบคอบว่าจะยอมรับสภาพ การดูแลที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักได้หรือไม่ ส่วนในเรื่องของเส้นทางการวิ่งพิทักษ์หัวหินที่เปลี่ยนไปในครั้งนี้ก็ไม่ยากเท่าไหร่นักวิ่งทุกระดับสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ เพียงแต่สภาพอากาศที่ร้อนเป็นปกติในช่วงฤดูกาลนี้เท่านั้นที่อาจจะเป็นอุปสรรคให้กับนักวิ่งที่แพ้อากาศร้อนๆ
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
จากปีที่แล้ว 2548 งานวิ่งพิทักษ์หัวหินเป็นงานวิ่งที่ได้คะแนนการประเมินสูงสุดของปีถือว่าเป็นการจัดงานวิ่งที่น่าวิ่งมาก แต่ในปีนี้ 2549 รูปแบบงานวิ่งพิทักษ์หัวหินได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปมาก... ประเด็นหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
ประเด็นที่ 1. รูปแบบการจัดงานในครั้งนี้เปลี่ยนจากเดิมโดยก่อนหน้านี้ไม่มีรางวัลให้นักวิ่ง ไม่มีการแข่งขันเต็มรูปแบบเช่นครั้งนี้ มีเพียงเสื้อและเหรียญเท่านั้นที่แจกจ่ายให้กับนักวิ่งเป็นของระลึก จากจุดยืนที่เปลี่ยนไปก็ส่งผลทำให้ความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่จะพิทักษ์หัวหินก็ลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด ถังขยะที่เคยเตรียมไว้ระหว่างเส้นทางวิ่งตามจุดให้น้ำก็หายไป นักวิ่งแข่งขันแทบไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้ แต่ต่างกับนักวิ่งเพื่อสุขภาพที่วิ่งกันเพื่อความสนุก ความเพลิดเพลินบันเทิงใจ กับแก้วน้ำ 1 ใบโยนใส่ถังขยะนักวิ่งกลุ่มนี้ไม่กลัวเสียเวลาอยู่แล้ว มันทำให้งานวิ่งเป็นงานวิ่งที่ดูสะอาดตา หรือเราเรียก Green Running หรือ Eco-marathon ซึ่งมีงานวิ่งไม่กี่งานที่ให้ความสำคัญตรงจุดนี้ และส่วนหนึ่งเดิน-วิ่งพิทักษ์เพื่อเป็นการรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการทะนุบำรุงสิ่งแวดล้อมของเมืองหัวหิน (Preserve Hua Hin) ดังนั้นอยากให้หันกลับมามองตรงจุดนี้อีกครั้ง
2. เส้นทางการแข่งขันที่เปลี่ยนไป เส้นทางที่สวยงามบนหาดทรายและท้าทายด้วยการขึ้น-ลงเขาหินเหล็กไฟถูกเปลี่ยนไปวิ่งบนถนนยาวลาดยางแทน เส้นการวิ่งครั้งนี้นักวิ่งหลายคนตั้งความหวังไว้ที่จะได้วิ่งบนหาดทรายแห่งเมืองหัวหิน ได้สัมผัสกับบรรยากาศพระอาทิตย์ขึ้นจากทะเลยามเช้าเหมือนครั้งที่ผ่านๆมา แต่ก็ต้องผิดหวังกลับไป เส้นทางการวิ่งที่ดูจะไม่เป็นเอกลักษณ์สำหรับเมืองหัวหินเพราะเส้นทางเช่นนี้นักวิ่งสามารถหาวิ่งได้ทุกที่ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาไกลถึงหัวหินก็วิ่งได้.... หากผู้จัดยังต้องการดึงดูดนักวิ่งในภูมิภาคอื่นๆคงต้องหาเส้นทางที่มีความเป็นเอกลักษณ์ไปหาวิ่งที่ไหนไม่ได้แล้วต้องมาวิ่งหัวหินเท่านั้นถึงจะได้สัมผัสบรรยากาศเช่นนี้ เส้นทางการวิ่งในปี 2548 จากเขาหินเหล็กไฟ วิ่งสู่หาดทรายหัวหินไปเขาตะเกียบก็ดีทีเดียวนอกจากจะได้สัมผัสหาดทรายเมืองหัวหิน ยังแฝงไว้ด้วยความท้าทายในการวิ่งขึ้นเขาอีกด้วย
3. กองเชียร์ของนักเรียน นักศึกษา จากโรงเรียน สถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆที่หายไป ช่วยเป็นแรงเชียร์แรงใจให้กับนักวิ่งได้เยอะทีเดียวและทำให้กิจกรรมการวิ่งพิทักษ์หัวหินมีสีสรรเพิ่มมากขึ้น การนำงบประมาณการจัดงานในครั้งนี้ไปเป็นรางวัลให้กับนักวิ่งแนวหน้าจำนวนมากมาย เปลี่ยนมาเป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษา หรือโรงเรียนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมดีๆเหมือนอย่างที่ผ่านมา ดูน่าจะมีคุณค่ามากกว่านี้ เงินรางวัลจะตอบสนองเพียงนักวิ่งแนวหน้าเพียงไม่กี่คนแต่จะมีสักกี่คนที่ประทับใจและจดจำว่าได้เงินรางวัลจากสนามนี้ แต่ถึงจะไม่มีเงินรางวัลก็ยังมีนักวิ่งแนวหน้าบางท่านที่มีสปิริตของความเป็นนักกีฬา นักวิ่ง ที่ไม่ได้หวังเพียงแค่เงินรางวัลก็มี อาทิ คุณนิวัฒน์ อ้อยทิพย์ แม้จะเป็นนักวิ่งแนวหน้า จะมีเงินรางวัลหรือไม่มีหากกิจกรรมคุณมีประโยชน์และดีจริงนักวิ่งแนวหน้าผู้มีน้ำใจนักกีฬาท่านนี้และอีกหลายๆคนก็ยินดีร่วมงาน
4. นอกจากการเปลี่ยนแปลงหลักๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ความใส่ใจของเจ้าหน้าในสนามการแข่งขัน ก็ดูจะลดน้อยลงไปกว่าก่อนอย่างเห็นได้ชัด แต่เจ้าหน้าที่ดีๆก็ยังมีอยู่แต่ก็ไม่ดีเท่าที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรดาของสรรพสิ่งในโลกนี้ การเปลี่ยนแปลงของงานวิ่งพิทักษ์หัวหินในครั้งนี้ก็เช่นกัน แต่บังเอิญมันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดูราวกับว่าจะก้าวถอยหลังไปสักหน่อย แต่ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในการจัดงานครั้งต่อไปจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่านี้ ให้สมกับงานวิ่งชื่อดีๆ อย่าง เดิน-วิ่งพิทักษ์หัวหิน (Preserve Hua Hin)
อาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม 2549
ณ อ. หัวหิน จ.ประจวบฯ
สรุปผลการประเมิน TRES: 66 คะแนน
เส้นทางการเดิน-วิ่ง:
จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดการแข่งขันอยู่บริเวณสวนหลวงราชินี (หัวหิน) โดยเส้นทางการแข่งขันระยะมินิ (10.55 กม.) และฮาล์ฟ (25 กม.) จากจุดสตาร์ทก็วิ่งออกสู่ถนนหัวหิน 35 เข้าสู่ถนนเพชรเกษมโดยเลี้ยวขวาวิ่งไปทางทิศเหนือแล้ววิ่งไปตามไหล่ถนนยาวเป็นทางเรียบโดยตลอด วิ่งลอดผ่านอุโมงค์จนไปถึงค่ายนเรศวร ระยะมินิกลับตัวกิโลที่ 5 ก่อนจะถึงค่ายนเรศวร ส่วนระยะฮาล์ฟวิ่งไปถึงค่ายนเรศวรแล้วเลี้ยวเข้าไปวิ่งวนภายในค่ายแล้ววิ่งย้อนกลับเส้นทางเดิม เส้นทางการจัดในครั้งยังไม่มีจุดเด่นมากนักเนื่องจากวิ่งบนไหล่ทางและข้างทางไม่มีร่มไม้ให้นักวิ่งได้หลบแดดดังนั้นนักวิ่งแนวหลังที่วิ่งช้าหน่อยมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไปก็อาบแดดกันไปเต็มๆ ตามเส้นทางการแข่งขันมีป้ายบอกระยะชัดเจน แต่สำหรับจุดให้น้ำในช่วงท้ายๆ เที่ยวกลับน้ำมีเพียงน้ำเปล่าเท่านั้นไม่มีน้ำแข็ง บางจุดน้ำหมดก่อนนักวิ่งทั้งหมดเข้าสู่เส้นชัย
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
เนื่องจากการจัดงานวิ่งพิทักษ์หัวหินในครั้งนี้ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการวิ่งที่ไม่มีการแข่งขันเป็นเน้นเพื่อการแข่งขันดังนั้นนักวิ่งการให้ความสำคัญกับนักวิ่งจะเน้นไปที่แนวหน้าเป็นหลัก ดังนั้นการวิ่งที่มีรูปแบบในลักษณะนี้ให้นักวิ่งแนวกลางหรือกลุ่มไม้ประดับพึงตระหนักและคำนึงให้รอบคอบว่าจะยอมรับสภาพ การดูแลที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักได้หรือไม่ ส่วนในเรื่องของเส้นทางการวิ่งพิทักษ์หัวหินที่เปลี่ยนไปในครั้งนี้ก็ไม่ยากเท่าไหร่นักวิ่งทุกระดับสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ เพียงแต่สภาพอากาศที่ร้อนเป็นปกติในช่วงฤดูกาลนี้เท่านั้นที่อาจจะเป็นอุปสรรคให้กับนักวิ่งที่แพ้อากาศร้อนๆ
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
จากปีที่แล้ว 2548 งานวิ่งพิทักษ์หัวหินเป็นงานวิ่งที่ได้คะแนนการประเมินสูงสุดของปีถือว่าเป็นการจัดงานวิ่งที่น่าวิ่งมาก แต่ในปีนี้ 2549 รูปแบบงานวิ่งพิทักษ์หัวหินได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปมาก... ประเด็นหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
ประเด็นที่ 1. รูปแบบการจัดงานในครั้งนี้เปลี่ยนจากเดิมโดยก่อนหน้านี้ไม่มีรางวัลให้นักวิ่ง ไม่มีการแข่งขันเต็มรูปแบบเช่นครั้งนี้ มีเพียงเสื้อและเหรียญเท่านั้นที่แจกจ่ายให้กับนักวิ่งเป็นของระลึก จากจุดยืนที่เปลี่ยนไปก็ส่งผลทำให้ความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่จะพิทักษ์หัวหินก็ลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด ถังขยะที่เคยเตรียมไว้ระหว่างเส้นทางวิ่งตามจุดให้น้ำก็หายไป นักวิ่งแข่งขันแทบไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้ แต่ต่างกับนักวิ่งเพื่อสุขภาพที่วิ่งกันเพื่อความสนุก ความเพลิดเพลินบันเทิงใจ กับแก้วน้ำ 1 ใบโยนใส่ถังขยะนักวิ่งกลุ่มนี้ไม่กลัวเสียเวลาอยู่แล้ว มันทำให้งานวิ่งเป็นงานวิ่งที่ดูสะอาดตา หรือเราเรียก Green Running หรือ Eco-marathon ซึ่งมีงานวิ่งไม่กี่งานที่ให้ความสำคัญตรงจุดนี้ และส่วนหนึ่งเดิน-วิ่งพิทักษ์เพื่อเป็นการรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการทะนุบำรุงสิ่งแวดล้อมของเมืองหัวหิน (Preserve Hua Hin) ดังนั้นอยากให้หันกลับมามองตรงจุดนี้อีกครั้ง
2. เส้นทางการแข่งขันที่เปลี่ยนไป เส้นทางที่สวยงามบนหาดทรายและท้าทายด้วยการขึ้น-ลงเขาหินเหล็กไฟถูกเปลี่ยนไปวิ่งบนถนนยาวลาดยางแทน เส้นการวิ่งครั้งนี้นักวิ่งหลายคนตั้งความหวังไว้ที่จะได้วิ่งบนหาดทรายแห่งเมืองหัวหิน ได้สัมผัสกับบรรยากาศพระอาทิตย์ขึ้นจากทะเลยามเช้าเหมือนครั้งที่ผ่านๆมา แต่ก็ต้องผิดหวังกลับไป เส้นทางการวิ่งที่ดูจะไม่เป็นเอกลักษณ์สำหรับเมืองหัวหินเพราะเส้นทางเช่นนี้นักวิ่งสามารถหาวิ่งได้ทุกที่ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาไกลถึงหัวหินก็วิ่งได้.... หากผู้จัดยังต้องการดึงดูดนักวิ่งในภูมิภาคอื่นๆคงต้องหาเส้นทางที่มีความเป็นเอกลักษณ์ไปหาวิ่งที่ไหนไม่ได้แล้วต้องมาวิ่งหัวหินเท่านั้นถึงจะได้สัมผัสบรรยากาศเช่นนี้ เส้นทางการวิ่งในปี 2548 จากเขาหินเหล็กไฟ วิ่งสู่หาดทรายหัวหินไปเขาตะเกียบก็ดีทีเดียวนอกจากจะได้สัมผัสหาดทรายเมืองหัวหิน ยังแฝงไว้ด้วยความท้าทายในการวิ่งขึ้นเขาอีกด้วย
3. กองเชียร์ของนักเรียน นักศึกษา จากโรงเรียน สถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆที่หายไป ช่วยเป็นแรงเชียร์แรงใจให้กับนักวิ่งได้เยอะทีเดียวและทำให้กิจกรรมการวิ่งพิทักษ์หัวหินมีสีสรรเพิ่มมากขึ้น การนำงบประมาณการจัดงานในครั้งนี้ไปเป็นรางวัลให้กับนักวิ่งแนวหน้าจำนวนมากมาย เปลี่ยนมาเป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษา หรือโรงเรียนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมดีๆเหมือนอย่างที่ผ่านมา ดูน่าจะมีคุณค่ามากกว่านี้ เงินรางวัลจะตอบสนองเพียงนักวิ่งแนวหน้าเพียงไม่กี่คนแต่จะมีสักกี่คนที่ประทับใจและจดจำว่าได้เงินรางวัลจากสนามนี้ แต่ถึงจะไม่มีเงินรางวัลก็ยังมีนักวิ่งแนวหน้าบางท่านที่มีสปิริตของความเป็นนักกีฬา นักวิ่ง ที่ไม่ได้หวังเพียงแค่เงินรางวัลก็มี อาทิ คุณนิวัฒน์ อ้อยทิพย์ แม้จะเป็นนักวิ่งแนวหน้า จะมีเงินรางวัลหรือไม่มีหากกิจกรรมคุณมีประโยชน์และดีจริงนักวิ่งแนวหน้าผู้มีน้ำใจนักกีฬาท่านนี้และอีกหลายๆคนก็ยินดีร่วมงาน
4. นอกจากการเปลี่ยนแปลงหลักๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ความใส่ใจของเจ้าหน้าในสนามการแข่งขัน ก็ดูจะลดน้อยลงไปกว่าก่อนอย่างเห็นได้ชัด แต่เจ้าหน้าที่ดีๆก็ยังมีอยู่แต่ก็ไม่ดีเท่าที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรดาของสรรพสิ่งในโลกนี้ การเปลี่ยนแปลงของงานวิ่งพิทักษ์หัวหินในครั้งนี้ก็เช่นกัน แต่บังเอิญมันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดูราวกับว่าจะก้าวถอยหลังไปสักหน่อย แต่ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในการจัดงานครั้งต่อไปจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่านี้ ให้สมกับงานวิ่งชื่อดีๆ อย่าง เดิน-วิ่งพิทักษ์หัวหิน (Preserve Hua Hin)
ป้ายกำกับ:
030 เรื่องวิ่ง,
031 สนามวิ่งเมืองไทย,
036 TRES by tsdk
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)