These three publications which related to the set-net project in Rayong Province namely, The Inplication of Set Net to Coastal Fisheries Management, The Attitude of Local Government Organizations and External Agencies on Set Net Fisheries and Institution of SetNet Fisher Group were published by SEAFDEC Training Department. Author: Dr.Phattareeya Suanrattanachai (Fisheries Government Management System Section Head), Narumol Thapthim & Pattaratjt Kaewnuratchadasorn (Fisheries Government Management System Scientist). These three publications are available at SEAFDEC Training Department, Samut Prakan.
28.12.51
25.12.51
สาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae)
สาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง ดอกไม้ทะเล ฟองน้ำทะเล และหอยมือเสือ โดยอยู่แบบพึ่งพาอาศัย การอยู่ร่วมแบบนี้ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ สาหร่ายพวกนี้เป็นสาหร่ายเซลล์เดียวพวกไดโนแฟลเจลเลต (dinoflagellate) ซึ่งจะดึงเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากการหายใจของสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ รวมทั้งของเสียที่ถูกปล่อยออกมามาใช้ในการสังเคราะห์แสง ปะการัง หอยมือเสือ หรือโฮสต์อื่นๆก็จะได้รับสารอาหารคืนจากที่สาหร่ายผลิตได้บางส่วน นอกจากนั้นสาหร่ายซูแซนเทลลียังทำให้เกิดสีสรรในตัวโฮสต์ที่อาศัยอีกด้วย
ป้ายกำกับ:
531 สาหร่าย,
550 สัตว์น้ำ (Aquatic animal)
ปลาตีน (Periophthalmodon schlosseri)
ชื่อเรียกทั่วไป: Mudskipper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Periophthalmodon schlosseri, Periophthalmus barbarus, Periopthalmus koelreuteri, Periopthalmus novemradiatus, Periopthalmus pearsei, Periopthalmus variabilis, Gobius novemradiatus
เป็นปลากระดูกแข็งในวงศ์ Periopthalmidae
อันดับ Periformes เช่นเดียวกับปลากะพง ปลาทูและปลาหางแข็ง
มีชื่ออื่นเรียกตามท้องถิ่นคือ ปลากระจัง ปลาดีจัง ปลาจุมพรวด และปลาพรวด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Periophthalmodon schlosseri, Periophthalmus barbarus, Periopthalmus koelreuteri, Periopthalmus novemradiatus, Periopthalmus pearsei, Periopthalmus variabilis, Gobius novemradiatus
เป็นปลากระดูกแข็งในวงศ์ Periopthalmidae
อันดับ Periformes เช่นเดียวกับปลากะพง ปลาทูและปลาหางแข็ง
มีชื่ออื่นเรียกตามท้องถิ่นคือ ปลากระจัง ปลาดีจัง ปลาจุมพรวด และปลาพรวด
แท้จริงปลาตีนไม่มีตีนสำหรับเดิน แต่มันสามารถคืบคลานและกระโดดไปบนพื้นเลนหรือกระโดดเลียดไปตามผิวหน้าน้ำได้ไกลเพราะมันใช้ครีบอกซึ่งพัฒนาเป็นกล้ามเนื้อยื่นยาวและแข็งแรงช่วย ปลาตีนมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25 ซม. ข้างลำตัวแบนเล็กน้อย มีเกล็ดปกคลุมทั่วลำตัว โดยทั่วไปออกสีเทามีแถบสีน้ำตาลพาด บริเวณหัวและตามตัวมีจุดวาว ๆ สีเขียวมรกต ปลายครีบหลังสีขาวเหลือบสะท้อนแสง ทำให้แลเห็นเป็นทั้งสีน้ำตาล สีน้ำเงิน และวาวเหมือนมุก ปลาตีนมีฟันเขี้ยวซี่เล็ก ๆ ขบซ้อนเหลื่อมกันทั้งริมขากรรไกรบนและล่าง ตำแหน่งของปากอยู่ปลายสุดของหัวขนานกับพื้น เหมาะกับการกินอาหารในขณะคืบคลานไปพร้อมกัน ดวงตาของมันอยู่ค่อนข้างชิดกัน สามารถกลอกไปมาและมองเห็นได้ดีทั้งบนบกและในน้ำ ใช้ตรวจสภาพรอบ ๆ ระวังภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีหนังตาล่างหนาใช้ป้องกันดวงตาจากเศษโคลนทรายได้ ปลาตีนชอบขุดรูอยู่ตามป่าชายเลนและปากแม่น้ำ ใช้รูเป็นที่หลบซ่อนตัว มันจะคืบคลานหากินอินทรีย์วัตถุและสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ บนผิวดิน โดยจะคอยระวังภัยเสมอ นอกจากอ่าวไทยแล้วถิ่นการกระจายของปลาตีนยังอยู่บริเวณอ่าวเบงกอล ชายฝั่งทะเลอันดามัน คาบสมุทรมลายู และเกาะบอร์เนียว ชาวบ้านนิยมจับมาทำเป็นอาหาร
ที่มาข้อมูลจาก: หนังสือบันทึกสิ่งแวดล้อมป่าเขตร้อนกองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ป้ายกำกับ:
550 สัตว์น้ำ (Aquatic animal)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)