สุขภาพดีด้วยการบริจาคโลหิต
นอกจากความภูมิใจที่ได้แบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่นโดยทางอ้อมแล้ว เชื่อไหมว่าการบริจาคเลือดยังช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย เลือดประกอบด้วยพลาสมา (น้ำเหลือง) และเม็ดเลือด คิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว คือ 5-6 ลิตรสำหรับผู้ชาย และ 4-5 ลิตรสำหรับผู้หญิง หรือประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ไขกระดูกเป็นอวัยวะตั้งต้นที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือด 3 ชนิด อันได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด เพื่อทำหน้าที่แตกต่างกันไปในร่างกาย
นอกจากความภูมิใจที่ได้แบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่นโดยทางอ้อมแล้ว เชื่อไหมว่าการบริจาคเลือดยังช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย เลือดประกอบด้วยพลาสมา (น้ำเหลือง) และเม็ดเลือด คิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว คือ 5-6 ลิตรสำหรับผู้ชาย และ 4-5 ลิตรสำหรับผู้หญิง หรือประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ไขกระดูกเป็นอวัยวะตั้งต้นที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือด 3 ชนิด อันได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด เพื่อทำหน้าที่แตกต่างกันไปในร่างกาย
เม็ดเลือดแต่ละชนิดจะมีอายุการทำงานที่ชัดเจนคือ เม็ดเลือดแดงมีอายุ 120 วัน เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดมีอายุ 5-10 วัน เมื่อถึงเวลาที่กำหนด เม็ดเลือดจะถูกทำลายและขับถ่ายออกมาในรูปของเหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ หลังจากนั้นไขกระดูกจึงสร้างเซลล์เม็ดเลือดชุดใหม่ขึ้นมาทดแทนได้โดยไม่มีวันหมด ปริมาณเลือดที่มีในร่างกายเป็นปริมาณที่ถูกสร้างขึ้นมาให้เกินกว่าความต้องการใช้ที่แท้จริง เพราะร่างกายต้องการใช้เพียง 15-16 แก้วน้ำเท่านั้น ส่วนเลือดอีก 2-3 แก้วน้ำเป็นปริมาณสำรองเพื่อรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้นการบริจาคเลือดซึ่งนำเลือดออกมาประมาณ 350-450 มิลลิลิตร จึงเป็นการนำเลือดสำรองออกมาโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แก่ร่างกาย เพราะไขกระดูกจะสร้างเลือดขึ้นมาทดแทนปริมาณที่ถูกถ่ายเทออกไป ทำให้เกิดประโยชน์โดยทางอ้อมคือ
ร่างกายได้เม็ดเลือดใหม่ ซึ่งแข็งแรงและทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่า ทำให้เม็ดเลือดแดงลำเลียงออกซิเจนได้เต็มที่ เม็ดเลือดขาวทำลายสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น และเกล็ดเลือดซ่อมแซมรอยฉีกขาดในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กระตุ้นการทำงานของไขกระดูก เปรียบเหมือนการออกกำลังกายให้กับไขกระดูกได้ทำงานดีขึ้น
ได้ตรวจสุขภาพทางอ้อม เพราะเมื่อมีการได้รับเลือดแล้ว ทางสภากาชาดจะต้องตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ตรวจหาภาวะติดเชื้อต่างๆ เท่ากับผู้บริจาคได้รู้ภาวะสุขภาพของตนเองในขณะนั้นด้วย
ลดความเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การวิจัยในประเทศฟินแลนด์พบว่า การบริจาคโลหิตช่วยลดความเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในเพศชายได้ถึง 88 เปอร์เซ็นต์ เพราะโรคนี้มีความสัมพันธ์กับปริมาณธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกาย หากมีสะสมมาก โอกาสเสี่ยงย่อมสูง เนื่องจากธาตุเหล็กส่งผลให้ไขมันทำปฏิกิริยาออกซิเจนจนหลอดเลือดตีบและกลายเป็นอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การบริจาคเลือดจึงช่วยให้ร่างกายลดภาวการณ์สะสมธาตุเหล็ก ซึ่งเท่ากับลดความเสี่ยงโรคหัวใจลงด้วยนั่นเอง การบริจาคเลือดทุก 3 เดือน จึงเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพดีขึ้นได้ด้วยตนเอง
ที่มา : นิตยสาร HEALTH & CUISINE ปีที่ 4 ฉบับที่ 47 ธันวาคม 2547 หน้า 32
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น