5.8.52

"จับจริงปรับจริง" ไม่หยุดรถ-ไม่ข้ามทางม้าลาย

(1 ส.ค. 2552) ตำรวจจะเริ่มเอาจริง "จับจริงปรับจริง" กับคนที่ไม่กระทำตามกฎหมาย รวมถึงรถยนต์ที่ไม่หยุดให้คนข้ามด้วย ซึ่งจะเริ่มจับกุมคนที่ไม่ข้ามทางม้าลาย 3 จุดนำร่อง คือ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกราชประสงค์ และถนนสีลม ซึ่งที่ผ่านมาตำรวจ บอกว่า ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบมาเป็นเวลานานกว่า 1 เดือน และถ้าหากว่าพรุ่งนี้พบว่ายังมีคนไม่ข้ามทางม้าลาย หรือว่าสะพานลอย จะถูกปรับไม่เกิน 200 บาท โดยทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของตำรวจว่า หากเป็นสตรีมีครรภ์ คนพิการ และผู้สูงสูงอายุจะกล่าวตักเตือน ส่วนรถที่ไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย จะถูกปรับขั้นต่ำ 500 บาท สำหรับหลักเกณฑ์ในการจับปรับ คนที่ไม่ข้ามทางม้าลาย หรือ สะพานลอย ต้องอยู่ในรัศมีห่างจากทางม้าลาย หรือ สะพานลอย 100 เมตร

นายจุมพล สำเภาพล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร เปิดผยว่า กล่าวถึงการดำเนินงานโครงการรณรงค์วินัยจราจรให้ข้ามถนนในทางข้าม ว่า กทม.ร่วมกับตำรวจจราจรลงพื้นที่รณรงค์วินัยจราจรให้ผู้ใช้รถใช้ถนนและคนข้ามเคารพกฎและสัญญาณจราจรเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ทางร่วมกัน ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยมีเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายกทม.คือเทศกิจ และตำรวจจราจรลงพื้นที่รณรงค์ที่ถนนอโศกมนตรีไปเมื่อสัปดาห์ก่อน

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกระทำผิดกฎ จะถูกจับ-ปรับตามกฎหมาย โดยรถที่ไม่หยุดรถที่ทางม้าลายคนข้ามจะปรับ 500-1,000 บาท และในส่วนของคนข้ามนอกทางม้าลาย ปรับ 200 บาท โดยกทม.จะส่งเจ้าหน้าที่เทศกิจร่วมกับตำรวจจราจรตั้งจุดกวดขัน จับ-ปรับในบริเวณ ทางม้าลาย ทางร่วม ทางแยกต่างๆ เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2552 เป็นต้นไป

นอกจากนี้กทม.จะลงพื้นที่รณรงค์ในถนนอื่นๆ เพิ่มขึ้นให้ทั่วกทม.คาดว่าจะช่วยกระตุ้นสำนึกประชาชนให้มีวินัยจราจรเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนร่วมกัน ส่วนปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงตลอดเวลาอาจเพราะเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ หรือ ตรวจตราไม่ต่อเนื่องตลอดเวลาทำให้ยังคงมีประชาชนละเลยวินัยอยู่นั้น ก็เป็นหน้าที่ของตำรวจจราจรที่จะหาแนวทางที่เหมาะสมซึ่งกทม.ก็ยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

ความคิดเห็น: ดีใจจังที่กรุงเทพเริ่มมีทิศทางการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น แต่โครงการดีๆแบบนี้ไม่ควรจะหยุดไว้แค่ในกรุงเทพ ทั่วประเทศเลยนะจะใช้ให้ทั่ว เพื่อให้สังคมไทยน่าอยู่มากยิ่งขึ้น ร่วมกันรับผิดชอบ เห็นอกเห็นใจผู้ใช้ถนน โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอกว่า คนแก่ คนชรา จักรยาน เป็นต้น